2552/07/24

กล่องดำที่อยู่ในเครื่องบิน


ผังตำแหน่งส่วนประกอบของระบบบันทึกข้อมูลการบิน

นำข้อมูลมาจาก http://www.thaiair.info ครับ

เมื่อใดก็ตามที่เกิดอากาศยานอุบัติเหตุ สองสิ่งแรกที่หน่วยกู้ภัยต้องรีบค้นหาคือ ผู้รอดชีวิตและอุปกรณ์บันทึกข้อมูลการบิน หรือที่เรียกกันว่า "กล่องดำ (Black Box)"
เครื่องบินโดยทั่วไปจะต้องปฏิบัติตามกฎด้านการบิน ในการติดตั้ง "
กล่องดำ" สองชนิดสำหรับบันทึกข้อมูลการบินเพื่อช่วยจำลองเหตุการณ์ก่อนหน้าที่จะเกิดอุบัติเหตุ โดย
กล่องดำ 2 ชนิดนั้นมี ดังนี้


เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (The Cockpit Voice Recorder - CVR)

1. กล่องที่ชื่อว่า Cockpit Voice Recorder (CVR) โดย เครื่อง CVR จะบันทึกเสียงพูดของนักบิน รวมทั้งเสียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในห้องนักบิน โดยรับเสียงจากไมโคร-
โฟนของนักบิน และไมโครโฟนที่ติดตั้งไว้ในแผงอุปกรณ์ด้านบนระหว่างนักบินทั้งสอง เสียงที่เกิดขึ้นในห้องนักบินทั้งหมดเช่น เสียงเครื่องยนต์ สัญญาณเตือน เสียงการ
เคลื่อนไหวของฐานล้อ เสียงการกดหรือว่าปลดสวิตช์ต่างๆ เสียงการโต้ตอบการจราจรทางอากาศ การแจ้งข่าวอากาศ และการสนทนาระหว่างนักบินกับพนักงานภาคพื้น-
หรือลูกเรือ จะถูกบันทึกไว้เพื่อประโยชน์ในการสอบสวน โดยจะนำไปพิจารณาประกอบกับค่าอื่นๆ เช่น รอบเครื่องยนต์ ระบบที่ผิดปกติ ความเร็ว และเวลา ณ เหตุการณ์ -
นั้นๆ เครื่องบันทึกเสียงในห้องนักบินแบบแถบแม่เหล็ก จะบันทึกเสียงได้ในช่วงเวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นจะขึ้นรอบการบันทึกใหม่ ในขณะที่เครื่องบันทึกแบบหน่วย
ความจำ สามารถบันทึกได้รอบละประมาณสองชั่วโมง


เครื่องบันทึกข้อมูลการบิน (The Flight Data Recorder - FDR)

2. กล่องที่ชื่อว่า Flight Data Recorder - FDR โดย เครื่อง FDR จะบันทึกสภาวะต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติการบิน ตามกฎระเบียบสำหรับอากาศยานรุ่นใหม่ๆ จะต้อง
มีการตรวจบันทึกข้อมูลที่สำคัญอย่างน้อย 11 ถึง 29 ประเภท ตามขนาดเครื่องบิน เช่น เวลา ระยะสูง ความเร็ว ทิศทาง และท่าทางของเครื่องบิน นอกจากนี้ FDR บาง
เครื่องสามารถบันทึกสถานะต่างๆ ได้อีกมากกว่า 700 ลักษณะ ซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับการสอบสวน รายการที่ถูกตรวจบันทึกพื้นฐานได้แก่ เวลา ระยะสูง ความเร็ว อัต-
ราเร่งตามแนวดิ่ง ทิศทาง ตำแหน่งคันบังคับและอุปกรณ์บังคับการบินอื่นๆ ตำแหน่งของแพนหางระดับ อัตราการไหลของเชื้อเพลิง ด้วยข้อมูลที่อ่านได้จาก FDR จะทำ
ให้คณะผู้สอบสวนอุบัติเหตุสามารถสร้างภาพเคลื่อนไหวของการบินได้ เจ้าหน้าที่สอบสวนสามารถมองเห็นภาพท่าทางเครื่องบิน ค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัด การใช้เครื่อง
ยนต์ และ ลักษณะอาการต่างๆ ของการบิน ภาพเคลื่อนไหวนี้ทำให้คณะผู้สอบสวน ทราบเหตุการณ์สุดท้ายของการบินก่อนเกิดอุบัติเหตุ

แม้อุปกรณ์ทั้งสองจะถูกเรียกว่า "กล่องดำ" แต่ตัวกล่องจริงจะมีสีแสดสะดุดตา และมีแถบสะท้อนแสงติดอยู่ เพื่อช่วยให้สังเกตง่าย เหตุที่เรียกว่า "กล่องดำ" อาจจะเป็น -
เพราะ
อุปกรณ์นี้มีสีดำในรุ่นแรกๆ หรือเรียกตามสภาพที่ดำเกรียม หลังจากถูกเผาไหม้

เมื่อเกิดอากาศยานอุบัติเหตุ อุปกรณ์ที่จะต้องคงสภาพมากที่สุดคือส่วน Crash-Serviable Memory Unit (CSMU) ของ CVR และ FDR แม้ตัวกล่องและส่วน-
ประกอบอื่นๆ จะเสียหาย ดังนั้นอุปกรณ์นี้จะต้องได้รับการออกแบบให้ทนความร้อน, แรงกระแทก และแรงกด โดยผ่านการทดสอบต่อไปนี้

- ยิงอุปกรณ์นี้ให้กระทบเป้าอลูมิเนียมเพื่อให้เกิดแรงกระแทก 3,400 G (แรงโน้มถ่วงของโลก = 1 G)
- ทดสอบความทนต่อการเจาะ โดยปล่อยก้อนน้ำหนักขนาด 500 ปอนด์ (227 กิโลกรัม) ที่มีเข็มเหล็กขนาด 0.25 นิ้ว อยู่ด้านล่าง ให้กระทบลงบน
CSMU จากความสูง 10 ฟุต (3 เมตร)
- ทดสอบด้วยแรงกด 5,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 5 นาที บนทุกด้านของ CSMU
- เผาด้วยความร้อน 2,000 oF (1,100 oC) นาน 1 ชั่วโมง
- แช่ในน้ำเค็มนาน 24 ชั่วโมง
- แช่น้ำนาน 30 วัน
- ทดสอบความทนทานต่อของเหลวอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิงเครื่องบิน, นำมันหล่อลื่น และสารเคมีดับเพลิง


สภาพกล่องดำหลังเกิดอุบัติเหตุ

เครื่องบันทึกแต่ละเครื่องจะต้องประกอบด้วยเครื่องแจ้งตำแหน่งใต้น้ำ (Underwater Locator Beacon - ULB) หรือเรียกว่า "pinger" เพื่อที่ช่วยการค้นหาใน
กรณีอุบัติเหตุเหนือน้ำ pinger จะทำงานเมื่อจมน้ำโดยจะส่งคลื่นเสียงความถี่ 37.5 kHz อุปกรณ์นี้สามารถส่งสัญญาณได้จากความลึกถึง 14,000 ฟุต หน่วยกู้ภัยจะใช้ - อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า Pinger Locator System (PLS) ลากไปในน้ำเพื่อรับสัญญาณจาก "pinger" เพื่อค้นหาตำแหน่งของ "กล่องดำ"
เมื่อพบกล่องดำแล้ว เจ้าหน้าที่จะขนส่งอย่างระมัดระวัง เพื่อนำไปเข้ากระบวนการตรวจสอบ โดยคงสภาวะเดิมให้มากที่สุด หากค้นพบในน้ำเครื่องบันทึกจะถูกส่งไปใน-
ถัง
บรรจุพร้อมกับน้ำ
เพราะหากเครื่องบันทึกแห้งลง ข้อมูลอาจสูญเสียไปได้
ด้วยอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ที่สลับซับซ้อน
ข้อมูลที่บันทึกไว้จะได้รับการแปลงรูปแบบให้สามารถเข้าใจง่าย เพื่อนำไปประกอบกับหลักฐานอื่นๆ ในการพิจารณาสาเหตุที่
แท้จริงต่อไป หากเครื่องบันทึกไม่เสียหายมากนัก ผู้สอบสวนเพียงต่อเครื่องบันทึกเข้ากับเครื่องอ่าน ก็จะทราบข้อมูลได้ภายในสองสามนาที แต่บ่อยครั้งพบว่าเครื่องบันทึก-
ที่ค้นหาได้จากซากเครื่องบินจะบุบสลายและถูกเผาไหม้ ในกรณีเช่นนี้ แผงหน่วยความจำจะถูกถอดออกมาทำความสะอาด และเชื่อมโยงเข้ากับเครื่องบันทึกอีกเครื่องหนึ่งที่มี
Software พิเศษที่สามารถถ่ายเทข้อมูลได้ โดยไม่มีการเขียนทับหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล

ภารกิจมาร์สเอกซ์พลอเรชั่นโรเวอร์



บริเวณลงจอดของยานสปิริต ภาพซ้ายถ่ายจากยานสปิริต ภาพขวาถ่ายจากยานมาร์สโอดิสซีย์ - ภาพ NASA


ภาพ 3 มิติที่ได้จากยานสปิริต - ภาพ NASA

นำข้อมูลมาจาก http://thaiastro.nectec.or.th ครับ

หลังจากที่องค์การอวกาศยุโรปส่งยานอวกาศที่มีชื่อว่ามาร์สเอกซ์เพรสพร้อมกับยานลูก "บีเกิล 2" ขึ้นสู่อวกาศ องค์การนาซาของสหรัฐฯ ก็ส่งยานอวกาศ 2 ลำ ในภารกิจมาร์สเอกซ์พลอเรชันโรเวอร์ เดินทางออกจากโลกในวันที่ 10 มิถุนายน และ 7 กรกฎาคม ตามลำดับ ยานอวกาศทั้ง 2 ลำของนาซานี้ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่- เสมือนนักธรณีวิทยาที่จะสำรวจดินและหินบนดาวอังคาร เพื่อนำไปสู่การศึกษาสภาวะอากาศในอดีตของดาวอังคาร เพื่อตอบคำถามขั้นพื้นฐานว่าดาวอังคารเคยมีสภา ะอากาศที่อบอุ่นเพียงพอที่น้ำจะสามารถคงอยู่ได้บนพื้นผิวนานพอที่สิ่งมีชีวิตแบบง่ายๆ จะถือกำเนิดขึ้นได้หรือไม่

ยานมาร์สเอกซ์พลอเรชันโรเวอร์เอ (MER-A) หรือ "สปิริต (Spirit)" มีกำหนดลงแตะพื้นผิวดาวอังคารในวันที่ 4 มกราคม เวลา 11.35 น. ตามเวลาในไทย ขณะที่ยานมาร์สเอกซ์พลอเรชันโรเวอร์บี (MER-B) หรือ "ออปพอร์ทูนิตี (Opportunity)" มีกำหนดลงแตะพื้นผิวดาวอังคารในวันที่ 25 มกราคม เวลา 12.25 น.

บริเวณที่ยานสปิริตลงจอดเป็นหลุมอุกกาบาตขนาด 150 กิโลเมตรชื่อว่า "หลุมกูซอฟ (Gusev)" ที่อาจเคยเป็นทะเลสาบมาก่อน ก่อตัวขึ้นจากการพุ่งชนของอุกกาบ- ตเมื่อประมาณ 3,000-4,000 ล้านปีที่แล้ว มีช่องเปิดด้านหนึ่งของหลุมที่เชื่อว่าเป็นช่องทางพากระแสน้ำและน้ำแข็งเข้าสู่หลุม ส่วนบริเวณที่ยานออปพอร์ทู นิตีลงจอดมีชื่อว่า "เมอริดิอานีพลานัม (Meridiani Planum)" ที่ราบที่คาดว่าอาจเป็นบริเวณทับถมของแร่ธาตุที่ก่อตัวขึ้นในสภาวะที่เต็มไปด้วยน้ำในอดีต

นาซาส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวอังคารมานับตั้งแต่โครงการมาริเนอร์ในกลางทศวรรษ 1960 และโครงการไวกิงในกลางทศวรรษ 1970 จากนั้นยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ของสหรัฐฯ ก็ลงแต่พื้นผิวดาวอังคารในปี พ.ศ. 2540 ตามด้วยยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ และยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ไปถึงดาวอังคารในปี พ.ศ. 2542 และ 2544


ขั้นตอนนำยานลงสู่พื้นผิวดาวอังคาร (ภาพ NASA)

สำหรับมาร์สเอกซ์พลอเรชันโรเวอร์ นาซาใช้ระบบการลงจอดแบบเดียวกับที่ใช้ในยานมาร์สพาทไฟน์เดอร์ คือใช้ร่มชูชีพและถุงลมเพื่อชะลอความเร็วของยานขณะลงสู่พื้นผิวดาวอังคารเพื่อหลีกเลี่ยงการพุ่งชน รถหกล้อทั้งสองคันจะลงในตำแหน่งที่ห่างไกลจากกัน และใช้เวลาราว 3 เดือนเพื่อเก็บตัวอย่างดิน โดยเดินทางไปบนดาวอังคารด้วยพลังขับเคลื่อนจากแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีกล้องถ่ายภาพที่สามารถถ่ายภาพสี และอุปกรณ์สำหรับขุดดินบนดาวอังคาร

ข้อมูลจากรถสำรวจทั้งสองจะถูกส่งขึ้นไปในรูปของสัญญาณวิทยุไปยังยานมาร์ส โกลบัลเซอร์เวเยอร์และยานมาร์สโอดิสซีย์ที่ทำหน้าที่เป็นดาวเทียมโคจรอยู่ รอบดาวอังคารในขณะนี้ และส่งต่อมายังโลกเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์กำหนดเส้นทางเดินของรถสำรวจทั้งสอง ในวันต่อๆ ไป คาดว่ารถ 2 คันนี้จะสำรวจพื้นที่รอบๆ จุดลงจอดและออกเดินทางเป็นระยะทางราว 500 เมตรบนพื้นผิวดาวอังคารตลอดภารกิจ

ก่อนหน้านี้ เราได้ข้อมูลดาวอังคารเป็นจำนวนมากจากยานอวกาศสองลำที่โคจรอยู่รอบดาวอังคาร ซึ่งได้เผยให้เห็นสภาพภูมิประเทศและองค์ประกอบบนพื้นผิวด้วยความละเอียดสูงอย่างไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งแสดงให้เห็นหุบเขา ที่ราบสูงชัน ร่องธาร และร่องรอยต่างๆ ที่ดูคล้ายภูมิประเทศบนโลก ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากยานอวกาศสองลำที่โคจรรอบดาวอังคารในขณะนี้ยังแสดงให้นักวิทยาศาสตร์เห็นว่าหินบนดาวอังคารแบ่งเป็นชั้นๆ ซึ่งดูเหมือนเป็นชั้นของตะกอนที่ถูกกัดเซาะโดยน้ำ หลายคนเชื่อว่าในอดีตดาวอังคารมีบรรยากาศที่หนาแน่นพอที่จะกักความร้อนไว้และทำให้เกิดน้ำบนพื้นดิน หุบเขาขนาดใหญ่หลายแห่งและบริเวณที่ดูเหมือนถูกกัดเซาะนี้น่าจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว นักดาราศาสตร์หวังว่ายานที่ส่งไปยังดาวอังคารทั้งหมดจะช่วยให้เรามีข้อมูลที่ชัดเจนและเข้าใจสภาพทางภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา การมีอยู่ของน้ำ และวิวัฒนาการบนดาวอังคารได้ดียิ่งขึ้น

สยามประเทศ ก่อนปรากฏบนแผนที่โลก


นำข้อมูลมาจาก http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=mythboard&No=5760 ครับ

แผ่นดิน มหาสมุทร ไม่กว้างเท่าแผนที่ เห็นทีจะเป็นเรื่องจริง เพราะต่อให้ใหญ่กว้างขนาดไหน ที่สุดแล้วก็ย่อให้เล็กลงตามมาตราส่วนเท่าที่นักแผนที่กำหนดลงบน -
แผ่นกระดาษหรือลูกโลก กระนั้นก็ตาม หลายคนคงสงสัยหรืออยากรู้ว่า เริ่มแรกแผนที่มีหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วประเทศไทยเริ่มปรากฏบนแผนที่โลกเมื่อใด ?

นักวิชาการภาคภูมิศาสตร์ของไทย ผ่องศรี จั่นห้าว คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแผนที่ ในหัวข้อ "ความถูกต้องทางวิชาการของแผนที่ประเทศไทย กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์" และ "ความถูกต้องของผู้ผลิตแผนที่พาณิชย์ต่อผู้ใช้" เพื่อนำไปอ้างอิง แต่เมื่อสืบค้นไปถึงวิวัฒนาการแผนที่แล้ว ทำให้เห็นร่องรอยในอดีต ตั้งแต่ยุคดินเหนียว หนังสัตว์ เปลือกไม้ เรื่อยมาถึงผ้า กระดาษ

ทั้งนี้ การปรากฏของทวีปต่างๆ และสยามบนแผนที่โลก พอจะแบ่งตามช่วงระยะเวลาได้เป็นสังเขป ถ้าย้อนไปยุคเริ่มต้นมีแผนที่ นักวิชาการยอมรับกันว่า แผนที่ชิ้นแรกปรากฏขึ้นในโลกมีอายุประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว โดยเขียนลงบนดินเหนียว รู้จักกันในชื่อว่า
Clay Tablet

ลักษณะเป็น "แผนที่โฉนด" (Ca dastral Map) หรือ "แผนที่ชุมชน" แสดงอาณาเขตกรุงบาบิโลน บริเวณลุ่มแม่น้ำไลน์และภูมิประเทศโดยรอบ ลักษณะแสดงให้เห็นเป็นภูเขา ทางน้ำ บ้าน จากเส้นทางกรุงไบแซนไทน์(Byzantine) ไปปากแม่น้ำดานูป

กระนั้นก็ดี สถาบันการสำรวจและทำแผนที่ของกรุงปักกิ่งก็อ้างว่า แผนที่มณฑลฉางชา ซึ่งขุดได้จากฮวงซุ้ยราชวงศ์ฮั่น ณ มาวังทูอี มณฑลฉางชา เป็นแผนที่เก่าที่สุดของโลก มีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถนน ทางน้ำ ภูเขา หมู่บ้าน และมีตัวเลขบอกจำนวนครอบครัว แต่ลักษณะแผนที่กลับหัว คือทิศเหนืออยู่ด้านล่าง ทิศตะวันออกอยู่ด้านซ้าย ปัจจุบันบางหมู่บ้านในแผนที่ยังคงปรากฏอยู่ในเขตลุ่มน้ำเชียวฉุย (Xiao shui)

ส่วนแผนที่ที่แสดงพื้นที่ของประเทศไทยที่ได้จากการค้นคว้า สันนิษฐานว่า แผนที่ที่น่าจะเก่าที่สุดคือ "แผนที่ Ramusio" แสดงที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ (Lago de chaimay)

วัสดุที่ใช้เป็นแผ่นไม้ โดยแผนที่นี้แสดงทะเลสาบเชียงใหม่ ที่ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "Cunebete" บางทีเรียกว่า "ทะเลสาบแห่ง Singapamor" แต่กลับหัวเหมือนแผนที่มณฑลฉางชาของจีน และแผนที่ Ramusio แสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลต่อแผนที่ในช่วงต่อมา คือความเชื่อที่ว่า ทะเลสาบเชียงใหม่เป็นต้นน้ำ 6 สาย โดยแม่น้ำ 3 สาย ไหลลงอ่าวเบงกอล และอีก 3 สาย เป็นต้นน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยา

แผนที่โลกก่อนปรากฏรูปร่างประเทศไทย

นักวิชาการภูมิศาสตร์ท่านนี้ได้ถ่ายทอดให้เห็นแผนที่ช่วงที่ 2 นี้นับว่าน่าสนใจยิ่ง ตั้งแต่สมัยที่อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก(384-322 B.C.) เริ่มสงสัยว่า โลกนั่นมีลักษณะเป็นทรงกลม นักวิทยาศาสตร์พยายามพิสูจน์ด้วยการเดินทางรอบโลก

กระทั่งร้อยปีก่อนคริสตกาลนักภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์ชาวกรีกนาม "สตราโบ"(Stra bo) ได้เขียนแผนที่จากคำบอกเล่าของนักสำรวจใช้หลักการสังเกตทิศทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงดาวต่างๆ และเขาก็ชี้ให้เห็นว่าโลกมีเพียง 3 ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา แม้รูปร่างไม่ถูกต้องนัก แต่ก็ทำให้สตราโบได้ชื่อว่าเป็นนักแผนที่คนแรกของโลก

กระนั้นความก้าวหน้าของการทำแผนที่อย่างชัดเจน ก็คือผลงานของนักปราชญ์ชาวกรีก คลอเดียส พโตเลมี(90-160 A.D.) แสดงแผนที่ Geographia และ World Atlas แสดง 26 ภูมิภาคโลก(87-150 A.D.) ผลงานชิ้นนี้ชาวอาหรับเป็นผู้เก็บรักษาไว้นานถึง 1,000 ปี จึงนำออกมาเผยแพร่ต่อชาวโลก

ทว่า แม้จะมีการสืบค้นว่าผลงานของพโตเลมีนี้ได้รับอิทธิพลจากแผนที่มารินุส(Marinus) ซึ่งเป็นชาวเมืองคาร์เธจ(เลบานอนในปัจจุบัน) ร่วมสมัยกับพโตเลมี อันเป็นที่ยอมรับกันต่อมาว่า เป็นนักทำแผนที่และนักภูมิศาสตร์ยุคแรก แต่พโตเลมีได้จัดทำแผนที่โลก แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับพื้นแผ่นดินและพื้นน้ำ ครอบคลุมจากมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้ รายละเอียดหลักๆ อยู่ที่อาณาจักรในยุโรปและคาบสมุทรอาหรับ แต่ยังไม่ปรากฏข้อมูลบริเวณประเทศอินเดียหรือจีน รวมทั้งพื้นที่ประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม แผนที่ของพโตเลมีถือว่ามีอิทธิพลมากต่อวงการแผนที่ในช่วงนี้ เนื่องจากเป็นแผนที่ระวางแรกแสดงเส้นละติจูด และลองจิจูด เป็นลักษณะตารางกริด(graticule) แม้ไม่ถูกต้องหมดตามความรูปร่างของชายฝั่งและเกาะก็ตาม แต่ชาวกรีกและโรมันยุคต่อมานำมาใช้แสดงลักษณะประเทศ บริเวณรอบๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมากขึ้น ขณะเดียวกัน ซีกโลกตะวันออกก็เริ่มเป็นที่รู้จักด้วย

ประเทศแรกในซีกตะวันออกที่เริ่มบุกเบิกงานด้านทำแผนที่ดูเหมือนจะเป็นประเทศจีน นักวิชาการ ยิง ยิงชุน แห่งสถาบันการสำรวจและการทำแผนที่กรุงปักกิ่ง รายงานว่า แผนที่บนผ้าไหมในรัชกาลจักรพรรดิเวนที(Wendi) แห่งราชวงศ์ฮั่น เป็นแผนที่ที่เก่าที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยพิเคราะห์ส่งเสริมให้จีนเห็นความสำคัญการทำแผนที่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล คืออุปกรณ์เข็มทิศ กระดาษเพื่อการเขียนแผนที่ ทั้งกล่าวว่า มีความรู้ทางด้านดาราศาสตร์อย่างกว้างขวางมาก่อนชาติอื่น

สถาบันปักกิ่งยังรายงานอีกว่า ชั่ง เฮง นักดาราศาสตร์สมัยราชวงศ์ชั่ง(Shang) ร่วมสมัยเดียวกับพโตเลมีและมารินุส ได้เขียนตารางกริดขึ้นบนแผนที่มาแล้ว แม้มิได้ระบุว่าเป็นเรื่องของการย่อส่วนหรือมาตราส่วน แต่วงการแผนที่เป็นที่ยอมรับกัน

อย่างไรก็ดี นักแผนที่ภูมิศาสตร์คนแรกของจีนอย่างแท้จริงอยู่ในยุคราชวงศ์ชิน(Chin) คือ แฟ ซุย(ค.ศ.224-271) แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแผนที่ของจีนก้าวไกลกว่าซีกโลกตะวันตกมาก เขียนคู่มือการทำแผนที่อธิบายถึงมาตราส่วน ระยะทาง ทิศทาง และความสูงไว้อย่างถูกต้อง

เมื่อเข้าสู่แผนที่ช่วงที่ 3 ช่วงสมัยกรีกและโรมันเรืองอำนาจ ลักษณะเด่นอยู่ที่รูปร่างของโลก ที่นักภูมิศาสตร์พยายามถ่ายทอดลงบนแผนที่ แม้ระยะแรกของช่วงที่เป็นยุคมืด(Dark Age) ของยุโรป เสรีภาพทางความคิดและวิชาการถูกปิดกั้น โดยเฉพาะด้านศาสนา อนุญาตให้มีการเผยแพร่ว่าพระเยซูคริสต์เจ้าเป็นผู้สร้างโลกเท่านั้น แต่เมื่อยุคมืดผ่านพ้นไป การเผยแพร่วิชาการและทางศาสนาก็ได้กระจายไปอย่างกว้างขวาง แม้แต่แผนที่ยังแสดงถึงอิทธิพลของแนวความคิดทางศาสนาอย่างเด่นชัด

แผนที่ฉบับที่เด่นที่สุดช่วงนี้คือ Turin Map หรือแผนที่ T-O คริสต์ศตวรรษที่ 12 แสดงให้เห็นถึงอาณาจักรที่รุ่งเรือง มีกรุงเยรูซาเล็มอยู่กลาง มีอาณาจักรที่เรียกว่า เอเชีย แอฟริกา และยุโรป แต่ตำแหน่งทวีปยังไม่ถูกต้อง เอเชียอยู่ด้านบนของแผนที่ ยุโรปอยู่มุมซ้ายล่าง และแอฟริกาอยู่มุมขวาล่าง แสดงให้เห็นผู้เขียนแผนที่ไม่ได้ทำการสำรวจ แต่เขียนตามที่ได้ยินได้ฟังมาผสมกับตำนานการกำเนิดของโลกตามความเชื่อทางศาสนา คือทางศาสนาคริสต์ก็มีรูปอาดัม เอวา และงู

ทั้งยังแสดงแนวคิดของพุทธศาสนาไว้ด้วย คือแอ่งน้ำจากเขาพระสุเมรุ เป็นต้นน้ำของทางน้ำ 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ไนล์ ไทกริส และยูเฟรติส คั่นด้วยแนวเขา 4 แนว ที่เป็นอาณาจักรของเงิน พลอย และคริสตัล ซึ่งนักภูมิศาสตร์ชาวโรมัน Pomponuis (ค.ศ.1937-1943) สันนิษฐานว่า เป็นอาณาจักรทองและอาณาจักรเงิน(Chryse and Argyre) ที่เรียกชื่อดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้แผนที่นี้จะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน แต่ได้บรรยายไว้ในแผนที่ "Turin" บอกความสำคัญของอาณาจักรทอง หมายถึงมลายา(Malaya) ตั้งอยู่ริมทะเล Erythrean เหมือนเป็นเกาะอยู่โพ้นทะเลตะวันออกของโลก ส่วนอาณาจักรเงิน อาจหมายถึง พม่า หรืออารข่าน(Burma or Arakan) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตอีกว่า มีพื้นที่พม่าหรืออารข่านอยู่ แต่ยังไม่ปรากฏพื้นที่ประเทศไทย

กระทั่งเข้าสู่ยุคแผนที่โลกและแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนที่โลกของ Beatus(ค.ศ.1483) จึงเริ่มปรากฏชื่อเมือง Nago(นคร-นครศรีธรรมราช)

แผนที่โลกเมื่อปรากฏพื้นที่ประเทศไทย

นักภูมิศาสตร์ท่านนี้ได้กล่าวถึงแผนที่โลกเมื่อปรากฏพื้นที่ประเทศไทยว่า แม้คำว่า SIAN เป็นคำที่ชาวจีนเรียกประเทศไทยมานาน แต่ชื่อนี้ได้ปรากฏในแผนที่โลก โดย Gerard Mer cator เป็นผู้เขียนขึ้น(ค.ศ.1569) ได้วางคำว่า SIAN ตรงบริเวณที่เป็นจังหวัดชุมพร และมีแม่น้ำ SIAN ตรงกับบริเวณที่เป็นแม่น้ำบางปะกงในปัจจุบัน

คำว่า "Brema" วางไว้ในบริเวณประเทศไทย แต่ในแผนที่เอเชีย(ค.ศ.1570) ของ Fernao Vaz Doura do วางคำว่า SIAN บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน แผนที่โลกโบราณช่วงนี้ ผู้ค้นคว้าส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป ยังไม่มีข้อมูลอื่นๆ ของประเทศไทยมากนัก นอกจากทะเลสาบและเมืองเชียงใหม่(Chamai) ดังที่กล่าวไปแล้ว

แต่ที่มีชื่อเมืองปรากฏในระยะหลัง คือ Lugor หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เป็นเมืองค้าขายสำคัญเมืองหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงค์ มีกำเนิดตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7-8 หรือคริสต์ศตวรรษที่ 2-3 มีอาณาเขตแผ่กว้างอย่างน้อยจากประจวบคีรีขันธ์ลงไปถึงมาเลเซีย(เกือบทั้งหมด) ในปัจจุบัน ชาวพื้นเมืองเรียกตนเองว่า "ชาวนคร" หรือ "เมืองคอน" พวกมลายูเรียกว่า "ลีกอ" หรือ "ลิกอร์" ทำให้ชาวโปรตุเกสที่เข้ามาค้าขายเรียกเมืองนครศรีธรรมราชว่า "ลิกอร์" หรือ "ลุกอร์" (Ligor or Lugor)

อย่างไรก็ดี แผนที่เอเชียต่อมาของอับราฮัม ออเทรุส(Abraham Ortelius) นักแผนที่ชาวเบลเยียม ได้ใช้คำว่า SIAM วางบริเวณภาคกลางประเทศไทย และเป็นแผนที่ที่ใช้คำว่า SIAM เป็นครั้งแรก

กระนั้นก็ตาม ยังมีการใช้คำว่า SIAN อยู่ เช่น แผนที่โลก-อินเดีย โอเรียนเต็ล(ค.ศ.1570) และแผนผังกรุงศรีอยุธยาของออลลัน แมนนีเซน มันเลท(ค.ศ.1683) ใช้ชื่อแผนที่ IVDIA ov SIAN ส่วนแม่น้ำของประเทศไทย ใช้คำว่า "Menam R." ก่อนที่จะมีชื่อแม่น้ำ(บาง)เจ้าพระยาในเวลาต่อมา

แผนที่ประเทศไทย

นักภูมิศาสตร์ท่านนี้ได้สรุปว่า เพื่อให้รับกับแผนที่โลก แผนที่เอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนที่ระบุประเทศไทยหรือสยามไว้ชัดเจน คือแผนที่ SIAN เป็นแผนที่ระวางแรกที่เขียนโดย Lambert Andreas(ค.ศ.1596) ชาวเยอรมนี มีพื้นที่ประเทศไทยอยู่กลาง ล้อมรอบด้วยประเทศข้างเคียง ตั้งแต่อินเดีย พม่า กัมพูชา เกาะสุมาตรา แต่ไม่ปรากฏประเทศฟิลิปปินส์ หรือญี่ปุ่น

แผนที่นี้นับว่ามีข้อมูลใกล้เคียงกับข้อมูลในแผนที่โลกของ Gerard แต่มีการเปลี่ยนชื่อเมืองลูกอร์ เป็น Nacaon แทน และตำแหน่งของ SIAN อยู่บริเวณเหนืออ่าวไทยปัจจุบัน รวมทั้งเมืองปัตตานี(Patane) เพิ่มขึ้นมาอยู่เหนือเมืองกลันตัน(Calantan)

กระทั่งมาถึง Le Pere Placide นักภูมิศาสตร์ประจำราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เขียนแผนที่ SIAM ขึ้น เมื่อเอกอัครราชทูตเดอ โชมองต์ เดินทางกลับจากการเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(ค.ศ.1685) แผนที่ที่เขียนมีลักษณะรวมทั้งตำแหน่งของชื่อตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น ชื่อประเทศใช้คำว่า SIAM จึงเป็นเหมือนต้นแบบของแผนที่สยามและประเทศไทยที่ปรากฏบนแผนที่โลกในเวลาต่อมา

แน่นอน แผนที่โลกปัจจุบันคงมิได้กำหนดชื่อประเทศกว่าร้อยประเทศไว้เพียงเท่านี้ ยังคงมีชื่อใหม่ๆ ปรากฏขึ้นไม่วันนี้หรือพรุ่งนี้ อย่างไรก็ดี มีข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ พบแผนที่ Town of Bangkok (ค.ศ.1828 หรือ พ.ศ.2371) หน้าตาสี่เหลี่ยมคล้ายบล็อค ลายเส้นทางน้ำเขียน Menam River แสดงพื้นที่ 2 ฝั่งเจ้าพระยา พระราชวัง วัดพระแก้ว เกาะรัตนโกสินทร์ ล้อมรอบด้วยคลอง 3 ชั้น คือ คลองคูเมือง คลองบางลำพู และคลองสามเสน นอกจากนี้แสดงมาตราส่วน เส้นบรรทัด ระบบไมล์ไว้ชัดเจน แผนที่นี้ปรากฏอยู่ในหนังสือ "Early Mapping" โทมัส ซัวเร(Thomas Saurey) ได้นำมาตีพิมพ์ที่สิงคโปร์ ปี ค.ศ.1999(พ.ศ.2542) เกี่ยวกับเรื่องแผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ส่วนชื่อผู้วาดนั้นไม่ได้ระบุไว้ นักวิชาการท่านนี้ได้สันนิษฐานว่าเป็นช่างเขียนพื้นเมืองสยาม หรือชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้ชีวิตในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แม้แผนที่กรุงเทพฯนี้ยังไม่เก่ามาก แต่เท่าที่ศึกษาและพบตอนนี้คิดว่าน่าจะเก่าที่สุดเวลานี้

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่ออุกกาบาตชนโลก


นำข้อมูลมาจาก http://variety.teenee.com/science/714.html ครับ

อุกกาบาต ดาวตก หรือผีพุ่งใต้ มันก็คือวัตถุธรรมชาติจากฟากฟ้าผ่านบรรยากาศลงสู่โลก ทั้งๆที่อวกาศระหว่างดาวเคราะห์เป็นที่ว่างเป็นสูญญากาศ แต่ก็ยังมีอุกกาบาตตกโลกราว 50-100 ตัน วัตถุใหญ่ขนาดดาวเคราะห์น้อยจนกระทั่งเป็นอนุภาคประจุก็มีโอกาสตกลงสู่โลกได้ทั้งนั้น

อุกกาบาตที่เป็นทางสว่างยาวๆของแสงผ่านท้องฟ้าในเวลาค่ำคืนเห็นกัน ออกบ่อยไปจนถือเป็นเรื่องประจำคืน คืนไหนไม่มีอุกกาบาตเลยน่าจะถือเป็นเรื่องแปลกมากกว่า ส่วนใหญ่อุกกาบาตถูกเผาไหม้ในบรรยากาศหมดหรือเหลือนิดหน่อยไม่เป็นอันตรายกับใคร อีกทั้งยังตกในที่ๆมีมากกว่าแผ่นดินคือที่เป็นทะเลมหาสมุทร เดือดร้อนต่อนักวิจัยต้องลงทุนลงแรงไปงมมันขึ้นมาศึกษา แต่ก็ถือว่าได้มาโดยราคาถูกมาก เมื่อนำไปเทียบกับโครงการอพอลโลที่ไปเอาดินหินจากดวงจันทร์

พอจะมองกันออกว่าอุกกาบาตขนาดใหญ่มักเป็นดาวเคราะห์น้อย ที่ไม่อยู่ในถิ่นที่มันควรอยู่คือระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสเหมือนส่วนใหญ่ บางส่วนของวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยส่วนหนึ่งเข้าใกล้วงโคจรโลก อีรอส อมอร์ อะพอลโลและอะโดนิสเคยเข้าใกล้โลกแล้วทั้งนั้น เรียงระยะที่ว่าใกล้โลกแล้วมี ดังนี้ 17,10,7 และ1.5 ล้านไมล์ รายที่ตื่นเต้นกันใหญ่กับข่าวใหญ่พ.ศ.2481 ที่อาจมีเฮอร์เมสชนกับโลก เฮอร์เมสมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1ไมล์ ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นเมื่อเข้าใกล้โลกระยะทาง 1/2 ล้านไมล์ ต่อมาปี
พ.ศ.2511 ไอคารัสทำให้คนบนโลกใจหายกันเมื่อมันผ่านโลกไปด้วยระยะ 4 ล้านไมล์ วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2515 ดาวเคราะห์น้อยหนักเป็น 10 เท่าของยานสกายแลปผ่านเข้ามาในบรรยากาศของโลก
ที่ระยะสูง 36 ไมล์มันได้ลุกเป็นไฟสว่างมากเห็นได้ไกลหลายร้อยไมล์ คุณพระยังช่วย มันไม่ได้ตกโลกหรอกแต่กระดอนออกไปในอวกาศอีก ถ้ามันได้ตกโลก นึกภาพสยอง อะไรจะเกิดขึ้น การตกของยานสกายแลปอาจกลายเป็นเพียงข่าวเล็กไป เมื่อมีการตกที่ยิ่งใหญ่กว่า

ลองมานึกภาพน่ากลัวของหินกว้าง1 ไมล์ขึ้นไปชนโลก

มันจะทำให้โลกเป็นแผลหรือที่เรียกกันว่าหลุมกว้าง 10-20 ไมล์เท่านั้นไม่พอ ยังเกิดอาการสั่นสะเทือนไปรอบๆโลกที่เรียกว่าแผ่นดินไหว ทำลายบ้านเรือน แรงระเบิดมีรัศมีหลายร้อยไมล์ ดินหินฝุ่นจะกระเด็นไปไกลและสูงในบรรยากาศ อาจบังแสงอาทิตย์หลายสิบปีหรืออาจเข้าสู่ยุคน้ำแข็ง ถ้ามันเป็นการชนครั้งใหญ่พอ สมมุติฐานเรื่องดาวตกครั้งใหญ่ ที่ว่าไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปเป็นเรื่องเล่าในบรรดาเหล่านักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องตลก เป็นเรื่องเศร้าปนสยองมากกว่า ขนาดไดโนเสาร์ยังเคยตายได้แล้วเราจะรอด หรือถ้าการชนครั้งหน้านั้นมันจะยิ่งใหญ่คล้ายๆกับคราวก่อน

ถ้ามันตกน้ำไปใช่ว่าจะปลอดภัย คลื่นยักษ์ซูนามิสหรือกำแพงยักษ์ของน้ำสูงหลายร้อยฟุต จะกวาดผู้คนทำลายทรัพย์สิน

มหาสมุทรมีมากกว่าแผ่นดิน ดาวตกใหญ่ๆอาจหล่นมหาสมุทรก็เป็นได้ ถ้ามันตกน้ำไปใช่ว่าจะปลอดภัย คลื่นยักษ์ซินามิหรือกำแพงยักษ์ของน้ำสูงหลายร้อยฟุต จะกวาดผู้คนทำลายทรัพย์สินเป็นจำนวนมากมาย ภาพเหล่านี้ดูคล้ายกับว่าอุกกาบาตทำอะไรก็ได้ที่ทำให้เราอยู่ไม่รอด ช่างผิดกับอุกกาบาตที่ชอบชี้ชวนกันชมซึ่งเคยประมาทมันไว้

โลกชนกับดาวเคราะห์น้อยหรือวัตถุนอกโลกขนาดใหญ่พอที่จะถล่มทลายโลกได้ไหม ?

ทำไมจะไม่ได้ ผิวของดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่นๆฟ้องว่าเคยชนกับวัตถุขนาดใหญ่มาก่อน และชนแล้วหลายๆหน อุกกาบาตชนโลกเสมอมาแต่ยังใหญ่ไม่พอที่จะทำลายโลก ยังไม่ประจวบเคราะห์หามยามร้ายที่มันจะหล่นใส่เมืองใหญ่ๆ แต่โชคจะยังดีตลอดไปหรือ เป็นเรื่องต้องคิดแล้ว

เราคิดผิดไปว่าอยู่บนโลกปลอดภัยแล้ว

หลุมอุกกาบาตบนโลกที่พบเห็นมีไม่มากเท่ากับที่ดวงจันทร์มี ก็ไปเทียบกับดวงจันทร์ได้อย่างไรเล่า ดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ไม่มีขบวนการเซาะพังทลายเหมือนที่โลกมี หลุมที่เกิดขึ้นแล้วก็คงทนเป็นหลุมตลอดไป เทียบกับดาวเคราะห์อื่นก็ชอบกล หลุมอุกกาบาตบนดาวพฤหัสไม่มีเลยทั้งๆที่เห็นข่าวมันชน กับดาวหางชูเมคเกอร์เลวีไนน์เมื่อปี 1994 แต่ดาวพฤหัสมันเป็นของหนืดก็กลบหลุมทันที โลกมีหลุมอุกกาบาตมากกว่าที่เห็นได้ การเซาะพังทะลายไม่ว่าจากคน ลมหรือฝน ทำลายหลักฐานที่อุกกาบาตชนโลกไปเสียมาก จนแปรสภาพไม่เหมือนเดิม ไม่ได้ฟ้องเราว่าเคยถูกชนมา จนเราคิดผิดไปว่าอยู่บนโลกปลอดภัยแล้ว

มาดูบันทึกเรื่องของหลุมอุกกาบาตใหญ่สุดๆบนโลก

อาจเป็นหลุมใต้น้ำแข็งในแอนตาร์คติกลึก 400 กม . หลุมอุกกาบาตใหญ่มากที่พบในแคนาดาเต็มไปด้วยน้ำ หลุมอุกกาบาตที่เห็นชัดเจนที่ทะเลทรายอริโซนาเลยได้กลายเป็นหลุมที่ดังที่สุด กว้างเพียง 1 กม. เกิดเมื่อ 20,000 ปีมาแล้วมีชื่อตั้งให้ด้วยเรียกเครเตอร์บาร์ริงเจอร์ การระเบิดแรงมาก แต่โชคดีที่ตรงนั้นไม่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ให้มันทำลาย พ.ศ.2451 กลางวันแสกๆ ยังมีอุกกาบาตลูกหนึ่งลุกสว่าง เห็นกันไกลหลายร้อยไมล์ ตกลงไปในป่าไซบีเรีย แรงระเบิดได้ยินไกล 600 ไมล์ ระยะทาง 100 ไมล์รับคลื่นช้อคกันทั่วหน้า มีต้นไม้ให้มันทำลายแทนบ้านเมือง ค้นไม่พบมวลลูกอุกกาบาตส่วนใหญ่ ที่ไซบีเรียปีพ.ศ.2490 อีกทีที่มีอุกกาบาต แต่มันแตกไม่มีชิ้นดีในบรรยากาศที่ตกลงสู่พื้นโลกเหมือนสายฝนเหล็กที่ไม่ชุ่มฉ่ำชื่นใจ บริเวณนั้นจึงมีรูเล็กร่วม 200 รูและมีรูใหญ่คือหลุมอีกหลายรู

อุกกาบาตขนาดใหญ่พอๆกับลูกที่ตกในทะเลทรายอริโซนาหรือไซบีเรีย หากเกิดในเมืองใหญ่ ความเสียหายจะมโหฬารทีเดียว แม้ยังไม่เคยเกิดเพราะสมัยก่อนบ้านเมืองใหญ่โตหายาก แต่ตอนนี้บ้านเมืองใหญ่โตหาง่ายแล้ว ผู้ไม่ตกอยู่ในความประมาทย่อมหาหนทางแก้ไขวันเลวคืนเลวที่เป็นไปได้จากอุกกาบาต " เราอยู่กันบนโลกนี้ทั้งๆที่รู้ว่าโอกาสจะเกิดอุกกาบาตและแผ่นดินไหวทำลายโลกได้ทุกขณะ" ไอแซค อสิมอฟกล่าวไว้อย่างไม่ประมาท

เมื่อไม่มีหนทางจะไปอยู่ที่ไหนอื่นนอกจากบนโลกใบนี้ ก็ต้องหาทางปกป้องมันให้ดีก็แล้วกัน

หากดาวเคราะห์น้อยอยู่ในวงโคจรของมันตามปกติที่ว่าต้องกลับมาที่เก่าเสมอ เรารู้เส้นทางล่วงหน้า การเตรียมตัวป้องกันทำได้ง่าย โอกาสรอดก็มาก หากไปชนกับดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อยอื่น จนมันต้องเปลี่ยนเส้นทางกระทันหันหรือมันต้องแตกแยกเป็นชิ้นส่วน เราไม่มีเวลาเตรียมการป้องกันตัว มันอาจเกิดการพุ่งเข้าชนโลก แม้โอกาสนี้ยังน้อย ยังไงก็ไม่น่าประมาท

วันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1972 มีลูกอุกกาบาตลูกหนึ่งพุ่งผ่านโลก ทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ เห็นเป็นทางสีขาวพุ่งผ่านทางขอบฟ้า ซึ่งเห็นได้ในตอนกลางวันอย่างชัดเจนดังรูป การเคลื่อนที่ของมันใกล้โลกค่อนข้างมาก มีโอกาสที่จะพุ่งเข้าชนโลกตลอดเวลา มวลของลูกอุกกาบาตลูกนี้มีค่าเท่ากับ 4,000,000 kg และมีความเร็วประมาณ 15 กิโลเมตรต่อวินาที สมมติว่ามันเปลี่ยนทิศทางพุ่งเข้าชนโลกในแนวดิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม จะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าหากดาวเคราะห์น้อยขนาดกว้าง 5 ไมล์วิ่งด้วยความเร็วสูงมากสามหมื่นไมล์ต่อชม.และมีเวลาเตรียมตัวได้แค่ 6 วัน

แม้เคยเป็นจินตนาการมานานแล้วในภาพยนตร์ที่ชื่อ 2525 โลกาวินาศ(หรือดาวตกหรือเมทีออร์)(Meteor) ที่จินตนาการว่ามันชนโลกปีนั้น และยังมีจินตนาการอื่นๆอีกเร็วๆนี้เช่นในภาพยนตร์เรื่องอาร์มากาดอน และดีฟ อิมแพค (deep impact) เรื่องแบบในภาพยนต์นี้แม้เรายังเห็นว่าเกิดขึ้นยาก แต่ใครจะประกันว่าเกิดขึ้นไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ดีน่าพอใจ ไมใช่จะขอรับแต่เงินประกัน การใช้อาวุธนิวเคลียร์ที่อยู่ในฐานทัพอวกาศของอเมริกา และรัสเซียหรือประเทศอื่นๆเพื่อหยุดอุกกาบาตให้ได้ เทคโนโลยีนี้ไม่ไกลเกิน

มีผู้ไม่ประมาทคิดป้องกันโลกเพื่อเราทุกคนไว้นานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2510 ก่อนดาวเคราะห์น้อยไอคารัสผ่านโลกใกล้ที่สุดปีพ.ศ.2511 สถาบันเอ็มไอที คิดหาวิธีการป้องกัน หากไอคารัสที่วิ่งเข้าชนโลกด้วยความเร็ว 100,000 ฟุต/วินาที เป็นไปได้ไหมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากการชนโลกโดยมีเวลาเตรียมตัว 18 เดือน?

ในเมื่อย้ายโลกไม่ได้ก็ต้องย้ายมันละ

ใช้อาวุธนิวเคลียร์ติดเข้ากับจรวดวิ่งเข้าชนให้มันเบนออกจากทางเดิม หรือไม่ก็แตกมันออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย อย่างที่ทำกันในภาพยนตร์เรื่องดัง หากทำได้สำเร็จทันการ คงได้พบกับความรู้สึกดีๆที่แท้จริงว่าวันดีคืนดีเป็นเช่นไร

ความคิดที่จะเปลี่ยนทิศทางธรรมชาติของดาวเคราะห์น้อยบางดวง เปลี่ยนให้ไกลจากโลกเลยเป็นเรื่องที่ทุกคนเห็นสมควรด้วย แต่ถ้าตั้งใจให้มันมาใกล้ชิดโลกมากขึ้น ก็ไม่ได้ต้องการให้มาชนโลก เหตุผลที่ดีๆนั้นคือเพื่อทำเหมืองสกัดแร่ที่หายากบนโลกแต่มีมากบนดาวเคราะห์น้อย หรืออาจเป็นที่อยู่ใหม่ในอวกาศ สถานีอวกาศ แหล่งกำลังและพลังงาน ฯลฯ

เทคโนโลยีที่จะเอามันเข้ามาไม่ยากกว่าเทคโนโลยีเอามันออกไป เพราะเป็นเทคโนโลยีอันเดียวกัน จากระบบขับดันหลายรูปแบบ ถ้าแน่ใจว่าเก่งแท้ มีฝีมือถึงขั้น พามาเข้าใกล้โลกเพื่อประโยชน์มหาศาลเมื่อใดก็ลงมือได้เลย เราจะได้ดูดาวเคราะห์น้อยใกล้ๆให้เต็มตาเสียที

มารู้จักกับเกาะบริติช เวอร์จินกัน


ตัดตอนข้อมูลมาจาก http://www.thairath.co.th/thairath1/2549/column/earth/feb/13_2_49.php ครับ

ผู้อ่านท่านครับ ขณะนี้มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หลายฉบับส่งมาถึงนิติภูมิ บอกว่าเมื่อเช้าวันเสาร์ที่ผ่านมา ได้ฟังนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร พูดถึงบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ ฟังแล้วไม่เข้าใจ ขอให้คนที่มียศแค่ร้อยตำรวจเอกอย่างนิติภูมิช่วยอธิบายขยายความซํ้าหน่อย

ขอเรียนรับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพครับ British Virgin Island เป็นหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน มีเกาะน้อยใหญ่รวมกันได้ประมาณ 50 เกาะ มีเนื้อที่รวมกันทั้งหมดได้เพียง 155 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ขนาดเท่ากับอำเภอขนาดเล็กของไทย เพียงซักอำเภอเดียวเท่านั้นเอง ประชากรทั้งหมู่เกาะมีอยู่หร็อมแหร็มประมาณ 21,000 คน


ในบรรดา 50 กว่าเกาะที่ว่านี่ เกาะที่สำคัญที่สุดคือ
เกาะทอร์โทลา เพราะผู้คนส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนเกาะนี้ แถมเมืองหลวงคือ กรุงโรดทาวน์ ก็ตั้งอยู่บนเกาะทอร์โทลานี่ด้วย หากท่านยังนึกไม่ออกว่าเกาะนี้อยู่ตรงไหนของทะเลแคริบเบียน ก็ขอให้ท่านไปตั้งหลักที่สาธารณรัฐเปอร์โตริโก หมู่เกาะบริติช เวอร์จิน อยู่ห่างจากเปอร์โตริโกไปทางตะวันออกประมาณ 95 กิโลเมตร ผู้คนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียกหรือเขียนชื่อเต็มของเกาะนี้ เพราะยาวเกินไป ส่วนใหญ่จะเรียกเพียงย่อๆ ว่า BVI และถ้าถามว่า BVI นี่มีสถานะเป็นอย่างไร นิติภูมิก็ขอตอบว่า เป็นเขตปกครองตนเองในอาณัติของอังกฤษ

ผู้คนทั้งหมู่เกาะ 21,000 คน นี่มีอาชีพทางการประมงและการท่องเที่ยว เดิมจึงเป็นดินแดนที่ยากจนข้นแค้นพอสมควร คณะปกครอง BVI จึงคิดหาสตางค์จากนักธุรกิจที่ต้องการเลี่ยงการปฏิบัติยุ่งยากและปรารถนาเลี่ยงภาษี ไม่อยากจะเสียภาษีโน่นภาษีนี่ให้กับประเทศแม่ หรือประเทศที่ตัวเองทำธุรกิจอยู่ เขียนง่ายๆก็คือ เกาะนี่เหมาะสำหรับพวกที่หากินอยู่ในประเทศหนึ่ง แต่ไม่อยากจะเสียภาษีให้ประเทศนั้น

ผู้บริหารเกาะจนปัญญาหาเงินเข้าดินแดนตัวเองเหมือนดินแดนอื่น จึงหาเงินจากพวกที่มีแนวความคิดทางโกง ทางหลบๆ เลี่ยงๆ ทั้งหลาย เมื่อ พ.ศ.2527 ผู้บริหารเกาะหัวใสจึงตรากฎหมาย International Business Companies Ordinance หรือ IBC ขึ้น เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของชาวต่างชาติ

จะว่าไปแล้ว บริษัททั้งหลายที่แห่ไปจดทะเบียนที่นี่ ก็เสมือนเป็นบริษัทหลอกๆ เพราะไม่จำเป็นต้องมีพนักงานก็ตั้งได้ การประชุมผู้ถือหุ้นหรือการประชุมกรรมการบริษัทนั้น ท่านไม่จำเป็นต้องประชุมที่บริติช เวอร์จิน ก็ได้ ท่านพอใจจะประชุมที่บนหลังคาหอพักซอยวัดเทพลีลา หรือจะไปประชุมในใต้ถุนที่ว่าการอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ท่านทำได้ทั้งนั้น ถูกต้องตามกฎหมายของหมู่เกาะบ้าที่ว่านี่ทั้งหมด

การประชุมก็ไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าค่าตากัน ไม่จำเป็นต้องมีลายเซ็นที่ลากปากกาให้เห็นกันต่อหน้าต่อตาก็ได้ บางคนขี้เกียจเดินทางไปประชุม เพียงแต่ยกหูโทรศัพท์แล้วพ่นเสียงใส่ลงไปในกระบอกฮัลโหล ก็ยังถูกกฎหมาย หรือท่านจะประชุมกันทางอินเตอร์เน็ตก็ยังถือว่าถูกต้องตามกฎหมายอีก การออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้น ท่านจะออกเสียงเอง หรือท่านจะทำการผ่านผู้รับมอบอำนาจก็ได้ไม่มีปัญหา

ท่านไม่มีเวลาประชุมใหญ่สามัญประจำปี ก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องประชุม ก็ยังถูกต้องตามกฎหมาย อยากทำอะไร หรือไม่อยากจะทำอะไร ย่อมได้ทั้งนั้นในการตั้งบริษัทที่ BVI
คนที่ชอบเลี่ยงโน่นเลี่ยงนี่ ก็จึงชอบใช้เกาะนี้เป็นแหล่งเพาะตัว.

มารู้จักกับน้ำมันกันดีกว่า


นำข้อมูลมาจาก http://www.radompon.com ครับ

น้ำมันมาจากใต้ดิน ซึ่ง น้ำมัน ถ่านหิน หินน้ำมัน ทรายน้ำมัน จริงๆแล้ว ก็คือซากสัตว์และซากพืชที่ตายมานานนับเป็นล้านปี และทับถมสะสมกันจนจมอยู่ใต้ดิน แล้วเปลี่ยนรูปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ฟอสซิล ระหว่างนั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติจนซากสัตว์และซากพืช หรือฟอสซิลนั้น กลายมาเป็นน้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ เราจึงเรียกเชื้อเพลิงประเภทนี้ว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล

ในทางวิทยาศาสตร์ เรารู้กันดีว่าต้นพืชและสัตว์รวมทั้งคน ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ มากมาย เซลล์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจนและธาตุคาร์บอนเป็นหลัก เวลาซากสัตว์และซากพืชทับถมและเปลี่ยนรูปเป็นน้ำมัน หรือก๊าซ หรือถ่านหิน ฯลฯ พวกนี้จึงมีองค์ประกอบของสารไฮโดรคาร์บอน (คือ ธาตุไฮโดรเจนรวมกับธาตุคาร์บอน) เป็นส่วนใหญ่ และไฮโดรคาร์บอนนี้แหละเมื่อนำมาเผาจะให้พลังงานออกมาแบบเดียวกับที่เราเผาฟืน เพียงแต่น้ำมันความร้อนมากกว่าฟืน นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบสอดแทรกอื่นๆ บ้าง เช่น กำมะถัน (เวลาเอามาเผาจะรวมกับออกซิเจน ได้เป็นก๊าซพิษของกำมะถันไดออกไซด์)

โลกเราใช้เวลานานมาก (เป็นล้านปี) กว่าจะผลิตน้ำมันได้แต่ละลิตร แต่เราเอามาเติมรถยนต์ วิ่งไม่กี่นาทีก็หมดแล้ว เราจึงควรใส่ใจและคิดสักนิด เมื่อจะขับรถ เปิดไฟ
เปิดแอร์ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรทำ แต่ถ้าจำเป็นก็ลดการใช้ลงบ้าง จะช่วยให้เรามีเชื้อเพลิงใช้ไปได้อีกนานๆ

การกลั่นน้ำมันดิบ

เรารู้แล้วว่าน้ำมันดิบมาจากใต้ดิน มีลักษณะเป็นของเหลวสีดำๆ จึงสูบขึ้นมาได้ มีสารไฮโดรคาร์บอนอยู่เยอะ จึงเผาแล้วได้พลังงานสูง ถ้ามีสิ่งเจือปนเยอะ เช่น มีกำมะถันเยอะ เผาแล้วจะเกิดก๊าซพิษมาก ก็ถือว่าเป็นน้ำมันดิบเกรดต่ำ
น้ำมันดิบที่มีกำมะถันเจือปนน้อยถือว่าเป็นน้ำมันดี จึงมีราคาแพง น้ำมันดิบนี้จะเอามาใช้โดยตรงไม่ได้ ต้องเอาไปกลั่นที่โรงกลั่นน้ำมัน ทำเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ เอาไว้เติม รถยนต์ รถดีเซล เรือ รถไฟ หรือเครื่องบิน น้ำมันเหล่านี้มีสมบัติต่างๆกันไปและราคาก็ไม่เท่ากัน

น้ำมันดิบเมื่อเอามากลั่นจะได้

h ก๊าซปิโตรเลียมเหลวหรือแอลพีจี (liquefied petroleum gas) : ใช้สำหรับหุงต้มในครัว และใช้กับรถบางคัน รวมทั้งในโรงงานบางชนิด
h น้ำมันเบนซิน : รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ ส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้
h น้ำมันก๊าด : ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่างและใช้ในโรงงาน
h น้ำมันเครื่องบิน : ใช้กับเครื่องบินใบพัด เครื่องบินไอพ่น
h น้ำมันดีเซล(โซล่า) : รถเมล์ รถไฟ รถบรรทุก รถกระบะส่วนใหญ่ใช้น้ำมันชนิดนี้
h น้ำมันเตา : ใช้สำหรับเตาเผาหรือต้มน้ำในหม้อไอน้ำ (บอยเลอร์) หรือเอามาปั่นไฟหรือใช้กับเรือ
h ยางมะตอย : ส่วนใหญ่ใช้ทำถนน นอกนั้นใช้เคลือบท่อเคลือบโลหะเพื่อกันสนิม

มารู้จักกับ "ค่าออกเทน" ของน้ำมันรถยนต์กัน

คือ ค่าความต้านทานการจุดระเบิดน้ำมันเบนซิน ก่อนเวลากำหนดของเครื่องยนต์หรือ ตัวเลขแสดงความต้านทานการน็อคของเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ ถ้าค่าออกเทน
สูง จะมีความต้านทานการน็อคของเครื่องยนต์สูง
ไม่เกี่ยวกับความแรงของเครื่องยนต์ การออกแบบเครื่องยนต์เบนซิน ของรถยนต์ และรถจักรยานยนต์
ในแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ
มีความแตกต่างกัน จึงต้องใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทนแตกต่างกัน การเลือกใช้น้ำมันเบนซิน ที่มีค่าออกเทน ที่เหมาะสมกับความต้องการ ของเครื่องยนต์ ตามที่ผู้ผลิตแต่ละรายกำหนดไว้ เป็นค่าออกเทน ที่ทำให้เครื่องยนต์ มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งคุณสามารถดูได้ จากคู่มือประจำรถของคุณ หรือบริเวณฝาปิดถังน้ำมันด้านในรถคุณ ส่วนเรื่องความแรง ของเครื่องยนต์นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และการดูแลบำรุงรักษา เครื่องยนต์ของคุณเอง

มารู้จักกับ "แก๊สโซฮอล์ 95" ของน้ำมันรถยนต์กัน

มีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินกับเอทานอล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ ดังนั้นนอกจากจะคุณสมบัติการใช้งานเทียบเท่าน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป แต่มีราคาถูกกว่า 1.50 บาทต่อลิตรแล้ว ยังเป็นพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยแก๊สโซฮอล์ 95 มีไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนนอกไซด์ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าเบนซิน 95 ทั่วไป ช่วยลดควันดำ สารอะโรเมติกส์ สารเบนซีน และช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองจากท่อไอเสีย จึงนับได้ว่า แก๊สโซฮอล์ 95 เป็นเบนซินที่สะอาด ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

โครงการแก๊สโซฮอล์ เกิดขึ้นในปี 2528 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทย อาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน และปัญหาพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาศึกษา ถึงการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ (เอทานอล) ใช้ผสมกับน้ำมันเบนซิน เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ และได้ทดลองใช้กับรถยนต์ในโครงการส่วนพระองค์ตั้งแต่ปี 2537 โดยทดสอบกับเครื่องยนต์ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ได้ผลดีทั้งในห้องปฏิบัติการและท้องถนน

การเกิด SONIC BOOM ของอากาศยาน


นำข้อมูลมาจาก http://www.vcharkarn.com/snippets/vcafe/show_message.php?Pid=12588 ครับ

Sonic Boom คือ เสียงดังเช่นเสียงฟ้าร้อง อันเกิดจากอากาศยานเคลื่อนผ่านอากาศเหนือศีรษะของเรา ด้วยความเร็วสูงกว่าความเร็วของเสียง

สาเหตุการเกิด Sonin Boom
คลื่นเสียงเกิดจากอากาศถูกกดดัน โดยต้นกำเนิดของเสียง จะกดดันอากาศให้เกิดความไม่สม่ำเสมอกัน (ในกรณีที่เสียงเคลื่อนผ่านอากาศ) โดยความกดดันที่ไม่สม่ำเสมอ
นี้จะเคลื่อนตัวผ่านอากาศจนกระทั่งมากระทบหูของเรา ซึ่งเราสามารถ sense ความแตกต่างของความกดดันนี้ แล้วแปลออกมาเป็นเสียงในสมองของเรา


F-18 C แสดง Sonic boom โดยส่วนที่เห็นขาวๆในภาพคือไอน้ำที่ควบแน่น (condensation)

เมื่อวัตถุเคลื่อนผ่านอากาศ เช่น เครื่องบินเคลื่อนตัวไปในอากาศ ก็จะดันและแยกอากาศออกเพื่อแทรกตัวเข้าไป โดยอากาศนอกจากจะถูกแยกออกแล้ว ก็ยังต้องไหลกลับ
ไปรวมตัวกันข้างหลังของเครื่องบิน เพื่อแทนที่ลำตัวของเครื่องบินที่ผ่านไปแล้ว การมุดตัวไปในอากาศก็ทำให้เกิดคลื่นรูปกรวยที่แหลมออกที่จมูกของเครื่องบิน โดยส่วน
ที่เป็นผิวของกรวยนี้แหละที่ก่อตัวเป็นสันคลื่นหรือ Shockwave


รูปแสดง Shockwave จากส่วนหัวของเครื่องบิน


ภาพถ่ายจากเครื่องบิน F18 ด้วยกรรมวิธีพิเศษที่ทำให้คลื่นปรากฏออกมาด้วย จะเห็นได้ว่าจะมี Shockwave เกิดขึ้นจาก
ส่วนที่ยื่นออกจากตัวเครื่องบิน

หากเครื่องบินเคลื่อนตัวด้วยความเร็วต่ำกว่าเสียง คลื่นเสียงอันเกิดจาก compressed air จาก Shockwave นี้ก็จะกระจายออกไปในทุกทิศทุกทาง เราก็จะได้ยินเสียงกระหึ่ม แต่เมื่อมันเคลื่อนตัวด้วยความเร็วเหนือเสียง ตัวเครื่องบินก็ไล่ทันคลื่นเสียงที่อยู่ข้างหน้า และก่อคลื่นใหม่ตามไป คลื่นพวกนี้ก็อัดซ้อนตัวเสริมกำลังกัน ทำให้มี
แรงกดดันมากกว่า noise ธรรมดาจึงเรียกว่า Sonic boom เพราะมันมีกำลังมาก

แต่ถ้าเครื่องบิน นั้นบินสูงๆ กว่าคลื่นจะลงมาถึงพื้นมันก็อ่อนตัวลงไปตามระยะทางแล้ว (decay) ทำให้เราได้ยินเป็นเสียงกระหึ่มเท่านั้น คือมันได้หมดกำลังไม่ได้เป็น
Sonic boom ไปแล้ว ในทางกลับกัน ถ้าเครื่องบินบินเหนือเสียงใกล้พื้น กำลังของ Sonic boom ก็ยังแรงมาก จนอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนประชาชนได้
เช่น กระจกแตก จึงมักมีกฏบังคับว่าจะบินเหนือเสียงได้ในเขตใดๆ ให้ห่างไกลจากชุมชน

Shockwave จะเกิดขึ้นตามส่วนที่ ยื่นออกจากตัวยานไปตัดกับอากาศ ในขณะเคลื่อนตัว เช่น จมูก, ปีก, สันตามลำตัว, หาง ฯลฯ แต่เมื่อเคลื่อนที่ออกห่างจากตัวไป
เรื่อยๆ คลื่นเหล่านี้มักจะผสานกันจนเหลือ Shockwave อยู่สองที่ที่จมูกและหางเท่านั้น ดังนั้น เราก็จะได้ยิน Sonic Boom สองลูกเสมอ แต่ว่าในความเป็นจริงแล้ว
เครื่องบินที่ลำไม่ใหญ่นัก ระยะทางระหว่างคลื่นจากหัวและหางก็ไม่ต่างกันนัก เช่นเครื่องบินพวก fighter ขนาดความยาวประมาณ 50 ฟุต นั้นจะมี Sonic boom ห่าง
กันประมาณ 0.1 วินาที หูของเราไม่อาจแยกแยะได้ ก็ทำให้คิดไปว่าได้ยินเสียงบูมเดียว อย่าง Space Shuttle ความยาว 122 ฟุต Sonic boom จะห่างจากกันครึ่ง
วินาที ซึ่งหูมนุษย์สามารถแยกแยะได้ว่ามีสองเสียง

กำลังของ Sonic boom (intensity) ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง คือ ความเร็ว, เพดานบิน และความอ้วนหรือผอมของเครื่องบิน ฉะนั้น พวก fighter jet ซึ่งลำ
เรียวเพรียวลม ก็จะทำให้เกิด Sonic boom ที่มีกำลังอ่อนกว่ายาน space shuttle ซึ่งอ้วนล่ำ และหัวหูมู่ทู่ กว่ามาก

กำลังของ Sonic boom วัดกันเป็น ปอนด์ต่อตารางฟุต ที่ "เกิน" ไปจากความกดดันอากาศโดยปกติ (lbs/sqft overpressure) คือความดันที่เหนือจาก 2,116 lbs/sqft (อันเป็นความกดดันของบรรยากาศ) ที่เราได้ยินส่วนมากจะมีกำลัง 1-2 ปอนด์/ตร.ฟุต overpressure จากผลการวิจัย ตึกที่อยู่ในสภาพดีสามารถทน Sonic boom ที่มีกำลังถึง 11 lb/sqft overpressure (เรียกสั้นเป็นปอนด์ ก็แล้วกันขี้เกียจพิมพ์แล้ว) ได้โดยไม่เกิดความเสียหายแต่อย่างใด เคยมีคนเจอ Sonic boom ที่มีกำลังถึง 144 ปอนด์โดยไม่มีอะไรเสียหาย จะให้หูหนวกก็ต้องให้มีกำลังถึง 720 ปอนด์ overpressure ไปถึง 2160 ปอนด์ก็จะทำให้ปอดฉีก แต่ว่าเราคงสร้าง Sonic
boom ขนาดนั้นได้ยาก

จากเครื่องบินจะมี Sonic Boom สองลูกคือ จากหัวลูกหนึ่ง และจากหางลูกหนึ่ง ในรูปนั่นเขาเขียนกรวยไว้อันเดียว เพราะถ้าทำสองอันแล้วมันจะซ้อนกันเห็นไม่ถนัด
ไม่ใช่ว่ามีลูกเดียวนะ โดยที่เราจะได้ยินครั้งเดียวหรือสองครั้งมันอยู่ที่ว่าเวลาของบูมสองลูกนี้จะห่างกันเท่าไหร่ อันขึ้นอยู่กับความยาวของเครื่องบินเอง

ถามว่า Sonic boom เป็น continuous wave มั้ย ต้องอธิบายอีกหน่อยว่า Sonic boom ลูกหนึ่งจะแผ่ออกตามผนังกรวยที่เห็นในภาพ โดยมันก็จะแผ่กระจาย
ตัวออกมาเรื่อยๆจนกระทบพื้นแล้วก็จะสลายไป ถ้าคุณยืนอยู่ที่จุดๆหนึ่งบนพื้น คุณจะได้ยินเสียงปังเดียว จาก Sonic boom ลูกนั้น เท่านั้น จะได้ยินอีกที ต้องเป็นบูมมาจาก
ลูกใหม่ ไม่ใช่ลูกเดิม แต่ก็เหมือนกับเรือแล่นน้ำไปเรื่อยๆ มันก็จะดันน้ำให้เกิดคลื่นลูกใหม่ ตราบเท่าที่เรือยังแล่นอยู่อย่างนั้น เครื่องบินก็เช่นเดียวกัน ตราบใดที่มันยังบินด้วย
ความเร็วเหนือเสียงไปเรื่อยๆอยู่อย่างนั้น ก็จะเกิด Sonic boom ลูกใหม่ออกมาไม่ขาดสาย ตามเทคนิคแล้วคงไม่ใช่ continous wave เพราะไม่ได้เป็นคลื่นที่เคลื่อนมาจากอากาศกลุ่มเดียวกัน แต่เป็นคลื่นที่เคลื่อนมาจากอากาศกลุ่มใหม่

สมัยก่อน เค้ากลัวกันมากว่าถ้าบินเร็วกว่าเสียงแล้วเครื่องบินจะแตก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ความกดดันของอากาศจะทวีขึ้นเรื่อยๆเมื่อเร่งความเร็วสูงขึ้น ก็เนื่องมาจากความต้านทานของอากาศ (drag) พอมันถึงระดับความเร็วเสียง ความกดดันอยู่ๆจะเพิ่มทวีคูณ ที่เค้าเรียกว่า maximum dynamic pressure เครื่องบินสมัยก่อนทานไม่ได้ ก็เหมือนบินไปชนกำแพงอะไรสักอย่าง เขาจึงเรียกว่าเป็นกำแพงเสียง แต่จริงๆแล้วไม่มีการข้ามกำแพงอะไรหรอก แต่ว่าต่อมาสักสี่ห้าสิบปีมานี้ งานค้นคว้าวิจัยเจริญขึ้นมาก เข้าใจเรื่องนี้ได้มากขึ้น ก็สามารถสร้างเครื่องบินให้มีโครงสร้างแข็งแรง ทานความกดดันได้มากขึ้น เครื่องบินสมัยใหม่จึงสามารถบิน Supersonic ได้โดยไม่พังทลายลงก่อน

ประวัติและวิธีการทำฝนหลวง


นำข้อมูลมาจาก http://royalrainmaking.thaigov.net และ http://techno.obec.go.th ครับ

ความเป็นมาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง

"...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้
ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."

โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญ
หาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร ในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

ตามเส้นทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน ทางอากาศยานดังกล่าว ทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน

ตามที่ทรงเล่าไว้ใน RAINMAKING STORY จาก พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และมีการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งใน และต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น ในปีถัดมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้

จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบิน ปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุน ในการสนองพระราชประสงค์ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการ ตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (dry ice หรือ solid carbondioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆ ทดลองเหล่านั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ของเมฆอย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลม พ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้ เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้

วิธีการทำฝนหลวง

1. เทคโนโลยีฝนหลวง
เทคโนโลยีฝนหลวงเป็นเทคนิค หรือ วิชาการที่เกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศ
โดยเน้นการทำฝน เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก (Rain enhancement) และ/หรือ เพื่อให้ฝนตกกระจายอย่างสม่ำเสมอ (Rain redistribution) สำหรับป้องกันหรือบรรเทาภาวะแห้งแล้งที่เกิดจากฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงนั้น เป็นวิชาการที่ใหม่สำหรับประเทศไทยและของโลก ข้อมูลหลักฐาน (evidence) ที่ใช้พิสูจน์ยืนยัน เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนักวิชาการและผู้บริหารระดับสูง ถึงผลปฏิบัติการฝนหลวงทั้งทางด้านกาย -
ภาพ (Physic) และด้านสถิติ (Statistic) มีน้อยมาก ดังนั้น ในระยะแรกเริ่มของการทดลองและวิจัย กรรมวิธีการปฏิบัติการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงติดตามผลการวางแผนการทดลองปฏิบัติการ การสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งโดยใกล้ชิด ทรงหาความรู้และประสบการณ์จากนักวิชาการที่ทรงคุณวุฒิทางด้านอุตุนิ-
ยมวิทยา โดยได้รับสั่งให้เชิญ พล.ร.ท.สนิท เวสารัชนันท์ ร.น. อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา พล.ร.ต.พิณ พันธุทวี ร.น. พร้อมด้วยนักวิชาการอื่นๆ มาเป็นคณะทำงานถวาย -ความคิดเห็น วิเคราะห์ผลปฏิบัติการที่ทางคณะปฏิบัติการฝนหลวง ได้ทดลองสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงแล้ว ทำรายงานเสนอเป็นประจำ

2. กรรมวิธีการทำฝนหลวง
กรรมวิธีการทำฝนหลวงในประเทศไทยที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้

ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อเมฆ

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดเมฆ โดยการโปรยสารเคมีผลละเอียดของเกลือโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ระดับความสูง 7,000 ฟุต ในท้องฟ้าโปร่งใสที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ ผงของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดความชื้นได้ดี จะทำหน้าที่เสริมประสิทธิภาพของแกนกลั่นตัวในบรรยากาศ (Cloud Condensation Nuclei) เรียกย่อว่า CCN ทำให้กระบวนการดูดซับความชื้นในอากาศให้กลายเป็นเม็ดน้ำเกิดเร็วขึ้นกว่าธรรมชาติ และเกิดกลุ่มเมฆจำนวนมาก ซึ่งเมฆเหล่านี้จะพัฒนาเป็นเมฆก้อนใหญ่ในเวลาต่อมา

ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อเร่งหรือเสริมการเพิ่มขนาดของเมฆและขนาดของเม็ดน้ำในก้อนเมฆ จะปฏิบัติการเมื่อเมฆที่ก่อตัวจากขั้นตอนที่ 1 หรือเมฆเดิมที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ก่อยอดสูงถึงระดับ 10,000 ฟุต โดยการโปรยสารเคมีผลแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) เข้าไปในกลุ่มเมฆที่ระดับ 8,000 ฟุต ผงแคลเซี่ยมคลอไรด์ซึ่งมีคุณสม
บัติดูดความชื้นได้ดี จะดูดซับความชื้นและเม็ดน้ำขนาดเล็กในก้อนเมฆให้กลายเป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันจะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะของสารแคลเซี่ยมคลอไรด์เมื่อละลายน้ำ ความร้อนที่เกิดขึ้นจะเพิ่มอัตราเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้น (Updraft) ในก้อนเมฆ ทั้งขนาดเม็ดน้ำที่โตขึ้นและความเร็วของกระแสอากาศไหลขึ้นที่เพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยเร่งกระบวนการชนกันและรวมตัวกัน (Collision and coalescence process) ของเม็ดน้ำ ทำให้เม็ดน้ำขนาดใหญ่จำนวนมากเกิดขึ้นในก้อนเมฆ และยอดเมฆพัฒนาตัวสูงขึ้น
ในขั้นนี้ เมฆจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและก่อยอดสูงขึ้นไปได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการทรงตัวของบรรยากาศในแต่ละวัน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ในบางวันเมฆจะไม่สามารถก่อยอดสูงเกินระดับอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง ( 0 องศาเซลเซียส) หรือประมาณ 18,000 ฟุต เรียกว่า เมฆอุ่น (Warm Cloud) ในบางวันเมฆจะสามารถก่อยอดขึ้นไปสูงกว่าระดับอุณหภูมิจุดเยือกแข็ง เช่น ถึงระดับ 20,000 ฟุต เรียกว่า เมฆเย็น (Cold Cloud) ซึ่งภายในยอดเมฆจะประกอบด้วยเม็ดน้ำเย็นจัด (Super cooled droplet) ที่มีอุณหภูมิต่ำถึง - 8 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนที่สาม : โจมตี

เป็นการดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อเร่งให้เมฆเกิดเป็นฝน ซึ่งสามารถกระทำได้ 3 วิธี ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเมฆ และชนิดของเครื่องบินที่มีอยู่ ดังนี้

วิธีที่ 1 \"โจมตีเมฆอุ่น แบบแซนด์วิช\"

ถ้าเป็นเมฆอุ่น เมื่อเมฆแก่ตัว ยอดเมฆจะอยู่ที่ระดับ 10,000 ฟุต หรือสูงกว่าเล็กน้อย และเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่เป้าหมาย จะทำการโจมตีโดยวิธี Sandwich คือ ใช้เครื่อง บิน 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ (Nacl) ทับยอดเมฆ หรือไหล่เมฆที่ระดับ 9,000 ฟุต หรือ ไม่เกิน 10,000 ฟุต อีกเครื่องหนึ่งโปรยผงยูเรีย (Urea) ที่ฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา เมฆจะเริ่มตกเป็นฝนลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 2 \"โจมตีเมฆเย็น แบบธรรมดา\"

ถ้าเป็นเมฆเย็นและมีเครื่องบินเมฆเย็นเพียงเครื่องเดียว เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ซึ่งมีอุณหภูมิระหว่าง -8 ถึง 12 องศาเซลเซียส มีกระแสอากาศไหลขึ้นสูงกว่า 1,000 ฟุตต่อนาที และมีปริมาณน้ำเย็นจัดไม่ตำกว่า 1 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นเงื่อนไขเหมาะสม อนุภาคของสาร Agl จะทำหน้าที่เป็นแกนเยือกแข็ง (Ice Nuclei) และเมื่อสัมผัสกับเม็ดน้ำเย็นจัดในบอดเมฆ จะทำให้เม็ดน้ำเหล่านั้นกลายเป็นน้ำแข็งและคายความร้อนแฝงออกมา ซึ่งความร้อนดังกล่าวจะเป็นพลังงานผลักดันให้ยอดเมฆเจริญสูงขึ้นไปอีก และมีการชักนำอากาศชื้นเข้าสู่ฐานเมฆเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเม็ดน้ำที่กลายเป็นน้ำแข็ง จะมีความดันไอที่ผิวต่ำกว่าเม็ดน้ำเย็นจัด ทำให้ไอน้ำระเหยจากเม็ดน้ำไปเกาะที่เม็ดน้ำแข็ง และเม็ดน้ำแข็งจะเจริญเติบโตได้เร็วเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และจะล่วงหล่นลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดน้ำฝน เมื่อผ่านชั้นอุณหภูมิเยือกแข็งลงมาที่ฐานเมฆ และเกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นดิน

วิธีที่ 3 \"โจมตีเมฆเย็น แบบซูเปอร์แซนด์วิช\"

หากเป็นเมฆเย็น และมีเครื่องบินครบทั้งชนิดเมฆอุ่นและเมฆเย็น เมื่อเมฆเย็นพัฒนายอดสูงขึ้นเลยระดับ 20,000 ฟุต ไปแล้ว จะทำการโจมตีโดยการผสมผสานวิธีที่ 1 และ 2 ในเวลาเดียวกัน กล่าวคือ เครื่องบินเมฆเย็นจะยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) เข้าสู่ยอดเมฆ ที่ระดับความสูงประมาณ 21,500 ฟุต ส่วนเครื่องบินเมฆอุ่น 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับไหล่เมฆ (ประมาณ 9,000 - 10,000 ฟุต) และเครื่องบินเมฆอุ่นอีก 1 เครื่อง จะโปรยสารเคมีผงยูเรียที่ระดับชิดฐานเมฆ ทำมุมเยื้องกัน 45 องศา วิธีการนี้จะทำให้ประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น และเทคนี้โปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อว่า SUPER SANDWICH

ขั้นตอนที่สี่ : เพิ่มฝน

การโจมตีเมฆในขั้นตอนที่ 3 ทั้งสามวิธี อาจจะทำให้ฝนใกล้จะตกหรือเริ่มตกแล้ว ขั้นตอนที่ 4 นี้ จะเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำโดยการโปรยเกล็ดน้ำแข้งแห้ง (Dry ice) ที่ระดับใต้ฐานเมฆประมาณ 1,000 ฟุต เกล็ดน้ำแข็งแห้งซึ่งมีอุณหภูมิต่ำถึง -78 องศาเซลเซียส จะปรับอุณหภูมิของบรรยากาศระหว่างฐานเมฆกับพื้นดินให้เย็นลง ทำให้ฐานเมฆยิ่งลดระดับต่ำลง ฝนจะตกในทันที หรือที่ตกอยู่แล้ว จะมีอัตราการตกของฝนสูงขึ้น ลดอัตราการระเหยของเม็ดฝนขณะล่วงหล่นลงสู่พื้นดิน และทำให้ฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานานขึ้นและหนาแน่นยิ่งขึ้น

3. กรรมวิธีการทำฝนหลวง

การออกปฏิบัติการแต่ละครั้ง จะดำเนินการเมื่อได้รับการร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือประสานงานโดยตรงกับคณะปฏิบัติการฝนหลวง

• ภาคเหนือ สนามบิน จ.แพร่, สนามบิน จ.เชียงใหม่
• ภาคอีสาน สนามบินกองบิน 1 จ.นครราชสีมา, สนามบิน จ.ขอนแก่น
• ภาคกลาง สนามบินกองบิน 2 จ.ลพบุรี, สนามบินกองบิน 4 จ.นครสวรรค์
• ภาคใต้ตอนบน สนามบินบ่อฝ้าย อ.หัวหิน, สนามบินค่ายธนัรัตน์ อ.ปราณบุรี หรือสนามบินกองบิน 53 จ.ประจวบคีรีขันธ

โดยพิจารณาหลักเกณฑ์ ดังนี้

• จำนวนพื้นที่พืชผลทางเกษตรกรรม จะต้องไม่น้อยกว่า 200,000 ไร่
• ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบถึงพืชผลทางเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง และไม่ต้องการน้ำ

ย้อนรอยกำเนิดโลก


นำข้อมูลมาจาก http://www.baanjomyut.com ครับ

โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นมาจากไหน ชิวิตอุบัติมาได้อย่างไร ลมฟ้าอากาศ น้ำ ภูเขา ทะเล และมหาสมุทร เหล่านี้มีความสำคัญแก่เราเพียงใด ติดตามได้เลยครับ

มหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก
สมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์จะมองโลกทุกๆด้านเป็นสิ่งน่าฉงนสนเท่ห์ และแปลกประหลาดไปทั้งหมด ไม่ว่าจะแหงนหน้าขึ้นไปบนท้องฟ้า หรือมองดูสภาวการณ์รอบๆตัว จะพบแต่สิ่งเร้นลับของปรากฎการณ์ต่างๆทั้งสิ้น มนุษย์จึงได้เริ่มยุคของการเสาะแสวงหาความจริงเกี่ยวกับความลึกลับของโลกนี้ตลอดมา และชั่วระยะเวลาอันไม่นานมนุษย์ก็สามารถศึกษาเรื่องราวต่างๆ และเข้าใจถูกต้องมากขึ้น ทั้งนี้นับว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่งของชีวิตมนุษย์ ที่มีกระบวนการพัฒนาการเจริญก้าวหน้าได้รวดเร็วยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย
เริ่มแรกของการสังเกตเกี่ยวกับโลกและท้องฟ้า ซึ่งปัจจุบันเรายังไม่ทราบแน่ชัดว่า เขาเหล่านั้นมีความเห็นและความรู้สึกไปในทำนองใดหรือด้านใด บางทีอาจจะมองพื้นดินและท้องฟ้า เช่นเดียวกับชาวอียิปต์โบราณ ที่ให้ความคิดว่าโลกนี้เป็นห้องใหญ่ห้องหนึ่ง แผ่นดินเป็นพื้นของห้อง ท้องฟ้าอันกว้างใหญ่เป็นเพด้านที่ค้ำไว้ด้วยเสาใหญ่ 4 ต้น และแขวนไว้ด้วยอำนาจประหลาดของพระเจ้า มีดวงดาวที่ทอแสงระยิบระยับเป็นตะเกียง ดังนี้ก็อาจเป็นได้
ความนึกคิดในทำนองนี้คงฝังอยู่ในความรู้สึกของมนุษย์สมัยนั้นมาตลอด แม้กระทั่งเมื่อ 2-3 ร้อยปีมานี้ คนส่วนมากก็เข้าใจว่าโลกนี้มีลักษณะหรือสัณฐานแบน มีมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ล้อมรอบ มีดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่านทางเบื้องบนทุกวัน แล้วสรุปเอาว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ดวงดาวต่างๆหมุนเวียนอยู่รอบๆ
แต่ในปัจจุบันนี้ ข้อเท็จจริงและการค้นคว้าตรวจสอบ เป็นที่รับรองต้องกันแล้วว่าโลกมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล หากเป็นดาวเคราะห์และเป็นบริวารดวงหนึ่งของดวงอาทิตย์ และแม้ดวงอาทิตย์เองก็มิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาลทั้งหมด เป็นเพียงกลุ่มดาวเล็กๆ เท่านั้น ในจำนวนกลุ่มดาวทั้งหลายที่เรามองเห็นเป็นแถบ อยู่ในท้องฟ้าเป็นแถบหนาพาดไปตามท้องฟ้านั้น ส่วนที่หนาแน่นที่สุด และเห็นได้ชัดเจนที่สุด เรียกว่า ทางช้างเผือก (Milky Way)
นอกจากนั้น เรายังรู้ต่อไปอีกว่า โลกนี้มิได้หยุดนิ่งกับที่ แต่หมุนไปรอบๆดวงอาทิตย์คล้ายลูกข่าง ด้วยความเร็ว 1000 ไมล์ต่อชั่วโมง ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร และยังโคจรเป็นรูปวงรี ด้วยความเร็ว 20 ไมล์ต่อวินาที เพราะการหมุนเวียนรอบตัวเอง และความหนาแน่นของโลกเป็นเหตุที่ทำให้โลกเกิดแรงดึงดูดขึ้น ที่เราเรียกว่า แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) นั่นเอง ซึ่งเพราะอำนาจของแรงโน้มถ่วงของโลกนี้เองที่ทำให้สรรพสิ่งต่างๆ คงอยู่ในโลกนี้ ไม่หลุดกระเด็นออกไปนอกโลก
โลกเรานี้เป็นเพียงเพียงวัตถุส่วนหนึ่งของจักรวาลเท่านั้น แต่มีลักษณะพิเศษไปกว่าส่วนอื่นๆของจักรวาลนี้ เพราะในระบบสุริยะจักรวาล บางส่วนมีอุณหภูมิถึง 3 ล้าน 5 แสน องศาฟาเรนไฮต์ และบางส่วนที่ว่างเปล่าเย็นเยือกมีอุณหภูมิต่ำถึง - 459 องศาฟาเรนไฮต์ แต่ทว่าโลกเรานี้มีอุณหภูมิและส่วนประกอบอื่นๆที่เหมาะสม ทำให้ชีวิตอุบัติขึ้นมาได้ ในรูปร่างของพืช สัตว์ และมนุษย์ ในส่วนหนึ่งของชีวิตเหล่านี้ ชีวิตที่พัฒนาการขึ้นมาเป็นมนุษย์นับว่าเป็นสิ่งที่เจริญถึงขั้นที่สุด การเกิดของโลก ของสภาวะแวดล้อม ของชีวิตตั้งแต่เล็กที่สุดขึ้นมาจนถึงมนุษย์นั้น กว่าจะสำเร็จมาได้แต่ละขั้นนั้น ต้องเสียเวลานานและเต็มไปด้วยความซับซ้อนอย่างยิ่ง

กำเนิดสุริยะจักรวาล
ตามแนวทางการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ ปรากฎว่าราว 5 พันล้านปีล่วงมาแล้ว ภายในอวกาศมีกลุ่มก๊าซ และยังมีหมอกเพลิงอยู่ทั่วไป อาศัยแรงแห่งความโน้มถ่วงและความกดดัน สืบเนื่องมาจากกลุ่มก๊าซภายนอกกลุ่มอื่นๆ ผลักดันให้กลุ่มก๊าซและหมอกเพลิงเหล่านั้นรวมตัวกันเข้า และค่อยๆหมุนรอบตัวเองด้วยอัตราความเร็วเพิ่มขึ้นทุกที เมื่อกลุ่มของก๊าซและหมอกเพลิงรวมตัวกันหนาแน่นมากขึ้น มีอัตราเร็วของการหมุนมากขึ้น อุณหภูมิก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย จนในที่สุดก็เป็นดาวฤกษ์ที่มีระดับความร้อนสูงและมีแสงสว่างสดใส บางกลุ่มอาจจับกลุ่มกันมากกว่าสองขึ้นไป แต่บางกลุ่มก็อยู่โดดเดี่ยว เช่นดวงอาทิตย์ของเราเป็นต้น
สุริยะจักรวาลของเราเป็นจักรวาลที่ใหญ่โตมากจักรวาลหนึ่ง มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวบริวารอีก 9 ดวงโคจรอยู่รอบๆ ดาวบริวารเหล่านี้แยกตัวออกมาจาก
ดวงอาทิตย์ในขณะที่ยังเป็นกลุ่มก๊าซอยู่ และหมุนรอบดวงอาทิตย์ในทางโคจรที่จำกัด นานเข้าก็จับกลุ่มเย็นตัวลงก่อน และกลายเป็นดาวเคราะห์ ที่ไม่มีแสงในตัวเอง และยังมีดาวดวงเล็กๆ เป็นบริวารของดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีก เรียกว่าดวงจันทร์ และก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันที่จับกลุ่มแล้วโคจรไปในรูปแบบของดาวหาง

การเกิดแผ่นดินและทวีป
เมื่อแรกแตกตัวออกมาจากดวงอาทิตย์นั้น ลูกโลกก็มีลักษณะเป็นดังกลุ่มหมอกเพลิง เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ และก็เคลื่อนที่ไปตามวงโคจรของมันรอบดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากมีขนาดเล็กกว่าจึงเย็นตัวเร็วกว่าดวงอาทิตย์ และในขณะที่เกิดการเย็นตัวนี้เอง สารที่เป็นส่วนประกอบพวกใดที่มีความหนาแน่นมากกว่า ก็จมลงไปอยู่ในใจกลางลูกกลมๆที่จะกลายเป็นโลก ส่วนที่เบากว่าก็เป็นองค์ประกอบอยู่ภายนอก และจากภายในก็มีไอน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์พุ่งขึ้นมาพร้อมกับก๊าซอย่างอื่น ทำให้เกิดบรรยากาศห่อหุ้มโลก
นานแสนนานต่อมา ผิวโลกเย็นตัวลงอย่างช้าๆ และอาจกินเวลานานนับล้านๆปีที่ความร้อนภายใน ค่อยแผ่กระจายขึ้นไปภายนอก วัตถุที่หลอมละลายอยู่ข้างในก็พวยพุ่งออกมาภายนอก ในขณะที่มันเย็นตัวลงไปอีก แต่เพราะมีน้ำหนักมากก็เลื่อนตกกลับลงไปในส่วนลึกของมันอีก และส่วนภายในนั้นร้อนแรงและยังคงคุโชนอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ดังนั้นภายในโลกจึงอาจจะเป็นแร่ธาตุที่หลอมเหลวและร้อนระอุอยู่ และมีขนาดมหึมา เส้นผ่าศูนย์กลางเฉพาะส่วนที่หลอมเหลวยาวถึง 4500 ไมล์ และมีอุณหภูมิที่ราวๆ 5000 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเป็นความร้อนที่เกือบเท่าๆ กับความร้อนของผิวดวงอาทิตย์ ธาตุที่หลอมเหลวนี้จัดเป็นผิวโลกชั้นในที่เรียกว่า
เสื้อคลุมชั้นใน อาจหนาถึง 1800 ไมล์ ประกอบด้วยหิน ธาตุเหล็ก และโลหะอย่างอื่นๆปนอยู่อีกมาก
รอบๆ เสื้อคลุมชั้นในนี้ กลายเป็นชั้นบางๆของผิวโลก ถ้าเปรียบโลกทั้งใบเป็นดังผลแอปเปิล ผิวชั้นนี้ก็ไม่หนาไปกว่าผิวแอปเปิลเลย ชั้นล่างของชั้นหินนี้เป็นหินที่เราพบในลักษณะของลาวา ซึ่งภูเขาไฟพ่นออกประมาณว่าเปลือกนี้หนาถึง 20 ไมล์ ชั้นล่างสุดของผิวนี้เป็นท้องมหาสมุทรและทะเล ส่วนที่สูงขึ้นมาก็เป็นพื้นผิวของทวีปซึ่งกลายเป็นภูเขา แผ่นดิน และเนื้อเปลือกโลกชั้นนอกสุด อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
เริ่มแรกที่ทวีปเกิดขึ้นใหม่ๆนั้น มีลักษณะน่ากลัวมาก เพราะขณะนั้นผิวโลก และภายในยังคงร้อนระอุอยู่ จึงมีเปลวไฟ กลุ่มก๊าซที่ร้อนจัด และหมอกควันระเบิดพวยพุ่งขึ้นมาเป็นแห่งๆ บางทีก็มีลาวาที่ประกอบด้วยหินละลายเหลวไหลขึ้นมาเป็นทะเลเพลิง ซึ่งในทะเลเพลิงของลาวานี้ก็มีหินแกรนิตมหึมาผุดลอยขึ้นมาด้วย เมื่อเย็นลงก็มีหินละลายส่วนอื่นๆจัลเกาะเพิ่มเติมให้หนาออกไปเรื่อยๆ และในบางส่วนผิวนอกเย็นตัวเกาะเป็นของแข็ง แต่บางส่วนภายในที่ยังเดือดอยู่ก็ผลักดันให้ปูดนูนขึ้นภายนอก
ไม่มีใครทราบแน่นอนว่าส่วนของทวีปในโลกนี้ เกิดขึ้นในบริเวณไหนก่อน อาจเกิดขึ้นมาพร้อมๆกัน ในหลายๆแห่ง แล้วค่อยๆแปรสภาพไปทีละขั้นตอน ตามอำนาจของการเปลี่ยนแปลงของโลก จนมีสภาพกลายเป็นทวีปต่างๆ และทุกวันนี้ผิวโลกส่วนที่เป็นทวีปนี้ ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ช้าลงเท่านั้น

การเกิดน้ำ
เมื่อผิวโลกร้อนอยู่นั้น ถูกห่อหุ้มด้วยกลุ่มเมฆหมอกของก๊าซต่างๆ ซึ่งอาจจะกินเวลานานนับล้านปีที่เมฆหมอกเหล่านี้ปกคุมโลกอยู่ ต่อมาเมฆหมอกและก๊าซก็ค่อยๆเย็นตัวลงตามลำดับ การรวมตัวของก๊าซบางอย่างที่พอเหมาะกับสัดส่วน ทำให้เกิดละอองไอน้ำลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อเย็นลงก็จับตัวกันเป็นหยดน้ำและตกลงมาเป็นฝน เมื่อฝนตกลงมากระทบผิวโลกที่ยังร้อนอยู่ก็กลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปรวมตัวกันเป็นเมฆดำและเป็นฝนตกลงมาอีก เมื่อผิวโลกเย็นตัวลง ฝนที่ตกลงมาก็ตกค้างเหลืออยู่บนผิวโลกบ้าง ระเหย
กลับขึ้นไปอีกบ้าง ครั้นฝนตกลงมาเรื่อยๆ นับเป็นเวลาล้านๆปี อำนาจของน้ำฝนที่ตกลงมาในที่สูงของแผ่นดิน ซึ่งต่อมาเราเรียกว่าภูเขานั้นก็จะไหลลงสู่ที่ต่ำเบื้องล่าง และขังอยู่ตามแอ่งของผิงโลกคล้ายกับสระน้ำมหึมา เมื่อฝนค่อยๆเบาบางลงเมฆหมอกก็เริ่มจางลง น้ำฝนที่ตกลงมาสะสมมากขึ้นก็ทำให้เกิดเป็นมหาสมุทร
เวลาได้ผ่านไปอีกหลายล้านปีกว่าผิวโลก มหาสมุทร และทะเลต่างๆ จะปรากฎออกมาอย่างที่ได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นับแต่ยุคฝนตกใหญ่ และมีน้ำท่วมผิวโลก ทำให้ผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอีกเรื่อยมา ทำให้บางส่วนที่เคยเป็นพื้นดินยุบตัวลึกลงเป็นทะเลหรือมหาสมุทรไป และส่วนที่เคยจมน้ำอยู่บางส่วนถูกกดดันให้ปูดนูนสูงขึ้นมาพ้นน้ำบ้าง ริมแผ่นดินที่จรดขอบน้ำอันเป็นฝั่งทะเลหรือฝั่งมหาสมุทร ก็เปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ ทำให้มีลักษณะเว้าแหว่งดังเช่นที่เห็นอยู่ทุกวันนี้

การเกิดภูเขา
เมื่อภายในโลกเย็นตัวลง และมีการยุบตัวลงอีกที่ผิวนอก และเกิดรอยย่นเพราะการเปลี่ยนแปลงของความกดดันของโลกภายใน จึงทำให้เกิดภูเขาสูงและหุบเหวลึกขึ้นในส่วนต่างๆ ฝนที่ตกลงมาผสมกับก๊าซบางอย่างในอากาศ ทำให้มีสภาวะเป็นกรด กร่อนและเซาะภูเขาให้เว้าแหว่ง หลุดเลื่อนลงไปยังส่วนที่ต่ำที่สุด และเมื่อฝนตกลงมาอีก ก็ชะเอาส่วนที่สึกกร่อนอันประกอบไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ และสอ่งอื่นๆไปด้วย แร่ธาตุและเกลือเหล่านี้จะลงไปสะสมอยู่ในทะเลมากขึ้นจนทำให้น้ำมีรสเค็ม และเนื่องจากน้ำเป็นของเหลว เมื่อถูกความร้อนหรือได้รับแรงดึงดูดจากดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ ก็เกิดปรากฎการณ์เอ่อนูนและลดต่ำ เป็นน้ำขึ้นน้ำลง และมีกระแสน้ำหมุนเวียน ทำให้ผิวโลกถูกทำลายให้เปลี่ยนแปลงลักษณะอยู่ตลอดเวลา
เทือกเขาที่โผล่สูงขึ้นมาก็เกิดพังลงเพราะอำนาจของแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ ในขณะที่ผิวไลกเกิดการหดตัว ผิวโลกบางส่วนที่เป็นของแข็งก็แตกร้าวเป็นร่องกว้าง ทำให้หินเลื่อนมากระทบกัน และก็มีไม่น้อยที่ชั้นของหินถูกแรงกดดันภายในโลกดันให้โผล่ขึ้นมาจากมหาสมุทร ทำให้เกิดเป็นเกาะหรือทวีป
การเคลื่อนที่ทันทีทันใด เกี่ยวกับการหดตัวของผิวโลก และหินเลื่อนกระทบกัน หรือหินเดือดภายในโกลกดดัน ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น แร่ธาตุที่ร้อนจัดละลายอยู่ภายในของโลกก็พุ่งขึ้นมาตามรอยร้าวของหิน พ่นเอาก๊าซ และลาวาขึ้นมาด้วย เกิดเป็นภูเขาไฟ จึงมาลาวาปกคลุมผิวโลกอยู่ และนานนับล้านปีจึงจะสึกกร่อนกลายเป็นแผ่นดินไปได้บ้าง ลักษณะเช่นนี้จะเห็นได้จากพื้นที่จำนวนหลายแสนตารางไมล์ ทางบริเวณตะวันตกของประเทศแคนาดาปัจจุบัน ที่ปกคลุมด้วยหินลาวาและเกิดเป็นเทือกเขา
ลอเรนเตียนส์ ให้เห็นจนทุกวันนี้
เทือกเขาสูงๆ ทั้งหลายบนโลก เช่น เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาร็อกกี้ เทือกเขาแอล์ป และเทือกเขาแอนดีส ก็เกิดขึ้นในยุคนี้ เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาบางลูก ยังปรากฎ
ให้เห็นอยู่ว่าถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อยๆจนทุกวันนี้ ไม่ถึงล้านปีมานี้เอง ภูเขาแคสเคดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของสหรัฐฯ ได้โผล่ขึ้นมาจากทะเล ด้วยอำนาจของการระเบิดของภูเขาไฟในบริเวณนั้น การระเบิดในส่วนอื่นๆของโลกทำให้เกิดภูเขาไม่น้อย แม้ในยุคประวัติศาสตร์ ก็มีตัวอย่างให้เห็นอยู่ในหลายแห่ง
การเกิดของภูเขา ทำให้ผิวโลกเปลี่ยนแปลงไป และยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่ในยุคนั้นเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพเหมาะสมที่ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้น ทำให้โลกพัฒนาการมาได้อย่างน่าประหลาด

ยุคธารน้ำแข็ง
ทุกวันนี้โดยสภาพของธรรมชาติ โลกเรายังคงอยู่ในยุคของน้ำแข็ง เพราะขั้วโลกทั้งสองยังคงปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล ตามยอดเขาสูงๆก็ปกคลุมไปด้วยหิมะ ถ้าปราศจากความร้อนที่โลกได้รับจากดวงอาทิตย์แลัว ผิวโลกทั้งหมดจะถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งอย่างสิ้นเชิง
โลกเปลี่ยนแปลงเข้ามาอยู่ในยุคน้ำแข็งเป็นเวลาหลายพันล้านปี ตามทางการสำรวจของนักวิทยาศาสตร์พบว่า แต่เดิมเมื่อชีวิตเกิดขึ้นมา และพัฒนาการเป็นพืชและสัตว์นั้น หน่วยของชีวิตเหล่านี้อาศัยอยู่ทั่วๆไป แม้ตามส่วนที่เป็นขั้วโลก แต่เมื่อเกิดยุคน้ำแข็งขึ้นมา น้ำแข็งก็ได้ผลักดันสิ่งมีชีวิตทั้งหลายให้ถอยร่นลงมายังส่วนที่อบอุ่นของโลก ซึ่งเป็นบริเวณถัดลงมาจากขั้วโลกทั้งสอง และบริเวณส่วนกลางของโลกซึ่งเรียกว่า
เส้นศูนย์สูตร
น้ำแข็งเกิดมาได้ด้วยสาเหตุหลายปรพการด้วยกัน เช่น ภูเขาที่เกิดขึ้นใหม่เพราะอำนาจผลักดันจากส่วนภายในของโลก อาจปิดกั้นทางลมร้อนที่พัดไป ทำให้แผ่นดินเบื้องหลังเย็นตัวลง ขี้เถ้าจากการระเบิดของภูเขาไฟซึ่งมีอยู่ทั่วไปในขณะนั้น อาจจับกลุ่มเป็นเมฆหนาทึบปิดบังแสงแดดที่ส่องลงมายังผิวโลก เมื่อความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์มีน้องลง อุณหภูมิของอากาศก็ลดต่ำลง ทำให้ไอน้ำเกาะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำ และกลายเป็นน้ำแข็งปกคลุมไปทั่ว
ยุคน้ำแข็งได้ปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นเวลานานเป็นล้านปี ผิวโลกเกือบหนึ่งในสี่ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง เมื่อเมฆเริ่มจางลงและผิวโลกได้รับแสงแดดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์มากขึ้น น้ำแข็งก็ละลายบ้าง กลับเกิดขึ้นมาอีกบ้าง กลับไปกลับมาหลายครั้ง การละลายครั้งสุดท้ายเสร็จสิ้นไปเมื่อประมาณ 10000 ปี มานี้เอง ทำให้บริเวณที่ยังปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งเลื่อนขึ้นไปอยู่ที่ขั้วโลกทั้งสอง เพราะแถบนั้นได้รับแสงแดดและความร้อนจากดวงอาทิตย์ทางเฉียง จึงมีอุณหภูมต่ำ อยู่ในระดับที่ยังมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ได้ ประมาณกันว่าที่ขั้วโลกทั้งสองมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ถึง 5000000 ลูกบาศก์ไมล์ นอกจากนี้น้ำแข็งยังปกคลุมอยู่ในอลาสกา นิวซีแลนด์ และในประเทศแถบคาบสมุทรสแกนดิเวเนีย กับตามเทือกเขาสูงๆ เช่น เทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาแอลป์ เป็นต้น สำหรับน้ำแห็งที่เกิดขึ้นในแถบขั้วโลกทั้งสองนั้นมีเกิดขึ้นและละลายไปเป็น ปีๆ
การที่เกิดยุคน้ำแข็งแล้วน้ำแข็งละลายไหลเลื่อนลงมาสู่ที่ต่ำกว่านั้น ทำให้ผิวโลกยุคนั้นเต็มไปด้วยธารน้ำแข็งอยู่ทั่วไป ธารน้ำแข็งนี้มีอำนาจสำคัญยิ่ง ในการสึกกร่อนผิวโลกให้เปี่ยนแปลงไปได้อย่างมากมาย
นับเวลาต่อมาเป็นพันๆปี อากาศที่ห่อหุ้มโลกจึงมีอุณหภูมิต่ำลง ขณะเดียวกันที่น้ำแข็งปกคลุมผิวโลกละลาย ก็ทำให้ระดับน้ำในมหาสมุทรเพิ่อสูงขึ้นทีละน้อยๆไ สำหรับยุคปัจจุบันนี้ นักวิทยาศาศตร์คำนวนว่า ถ้าน้ำแข็งในที่ต่างๆของโลกละลายหมด จะทำให้น้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นมากกว่า 100 ฟุต

อนาคตของโลก
ความจริงโลกเราทุกวันนี้ยังนับว่ามีอายุน้อยมาก เพราะในกาลต่อไปโลกอาจจะยั่งยืนอยู่คู่ดวงอาทิตย์ ซึ่งต้องนับเวลาเป็นนับพันล้านๆ ปี นอกจากจะเกิดเหตุทำให้แตกสลายไปเสียก่อนเท่านั้น เช่นอาจะมีดาวดวงอื่นพุ่งมาชน ถ้ามิเช่นนั้นแล้วกว่าจะเกิดการวิบัติลงไปได้ต้องกินเวลานานแสนนาน บางทีอาจจะสัก 10 พันล้านปีต่อไป ก๊าซไฮโดเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของดวงอาทิตย์จะมีปริมาณน้อยลง เป็นเหตุให้ดวงอาทิตย์พองโตขึ้นและหมุนเร็วยิ่งขึ้น และกลายเป็น ดาวฤกษ์ยักษ์แดง (Red Giant) ไป และมีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายสิบเท่า เปลือกนอกของดวงอาทิตย์ที่พองออกมาจะเข้าใกล้โลกมากขึ้น ทำให้โลกได้รับความร้อนมากขึ้นอีก จนอาจจะทำให้น้ำในมหาสมุทรระเหยขึ้นไปในอากาศ ทำให้น้ำในมหาสมุทรแห้งขอด บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกก็จะร้อนจัด และพองตัวหนีออกไปนอกอวกาศอันเวิ้งว้าง ชีวิตในโลกจะสิ้นไป แสงสีแดงจะปกคุมไปทั่ว และเต็มไปด้วยความร้อนระอุ เช่นเดียวกับเมื่อตอนเกิดโลก
บางทีเมื่อดวงอาทิตย์พองตัวใหญ่ขึ้น โลกอาจจะฝังตัวเข้าไปอยู่ในดวงอาทิตย์เสียก็ได้ หรือไม่ก็ดวงอาทิตย์ก็จะหดตัวเล็กลง ทำให้อุณหภูมิของโลกต่ำลง และสภาพดินฟ้าอากาศ ก็อาจจะพอมีชีวิตอุบัติขึ้นมาใหม่อีกก็ได้ นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ดวงอาทิตย์ในกาลต่อไปจะค่อยๆเย็นลง สารที่ประกอบเป็นดวงอาทิตย์จะหดตัวรวมกันเป็นกลุ่มหนาแน่นเข้าอีก สัก 30-40 พันล้านปีดวงอาทิตย์อาจจะมีแสงสว่างน้อยลง และมืดมิดดับไปในที่สุด สุริยะจักรวาลของเราก็จะดับมืดลงไปด้วย โลกจะตกอยู่ในความมืด อากาศจะเย็นจัดจนถึงกับจับตัวเป็นก๊าซแข็งห่อหุ้มโลกทั้งใบ .....!!!!!

นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีซูเปอร์จิ๋ว


นำข้อมูลมาจาก http://www.scithai.com ครับ

ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเจริญก้าวหน้าทางยานยนต์ ความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์และข้อมูล สารสนเทศ มีการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียวและอินเทร์เน็ต ช่วยให้เราสามารถติดต่อข่าวสารกันได้อย่างรวดเร็วและทั่ว ถึงกันมากยิ่งขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การ แพทย์ ก็เจริญก้าวหน้าอย่างแพร่หลายมาขึ้นด้วยเช่นกัน มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพ และพันธุวิศวกรรมมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการค้นพบลำดับพันธุกรรม (DNA Sequence) ของมนุษย์สำเร็จ ยิ่งทำให้ความหวังใน การรักษาโรคบางโรคซึ่งสมัยก่อนไม่สามารถรักษาได้ เกิดความเป็นจริงขึ้นมา นอกจากจะมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพแล้ว นาโนเทคโนโลยี นั้นก็มีบทบาทสำคัญในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

นาโนเทคโนโลยีคืออะไร "นาโน" เป็นภาษากรีกโบราณแปลว่า "คนแคระ" แต่ปัจจุบัน นาโนมักใช้ประกอบในหน่วยมาตราวัดต่างๆ โดยมีขนาดเท่ากับ พันล้านส่วน (สิบยกกำลังลบเก้า) เช่น 1 นา โนเมตร มีปริมาณเท่ากับ 1 ในพันล้านส่วนของเมตร ดังนั้น นาโนเทคโนโลยีจึงหมายถึง เทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กมาก ในระดับเป็นพันล้านส่วน ซึ่งอยู่ในระดับของอะตอมของสสารต่างๆ

นาโนเทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างไร นาโนเทคโนโลยีเป็นสหวิชาสาขาใหม่ (multidisciplinary area) ที่ต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากในหลากหลายสาขารวมเข้าด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในงานทางวัสดุศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ซึ่งเรียกกันว่า nanomaterials. nanoe- lectronics และ nanobiotechnology ตามลำดับ ก่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ได้รับการออกแบบและควบคุมตั้งแต่การจัดเรียง อะตอมหรือโมเลกุล ไปจนกลายเป็นชิ้นส่วนขนาดใหญ่

ตัวอย่างหนึ่งของ nanomaterial ซึ่งปัจจุบันกำลังเป็น ที่สนใจคือ "คาร์บอนนาโนทิวบ์ (Carbon nanotube)" มีรูปร่างเป็นโครงตาข่ายของคาร์บอน ม้วนเชื่อมติดกันเป็นรูป ทรงกระบอก และมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงไม่กี่นาโนเมตร คาร๋บอนนาโนทิวบ์มีคุณสมบัติที่แข็งแรงและเหนียวกว่า เหล็กกล้า สามารถนำไฟฟ้า หรือว่า กลายเป็นฉนวน (ไม่นำไฟฟ้า)ได้ ขึ้นอยู่กับทิศทางของแนวการจัดเรียงตัวของอะตอมคาร์บอนบนผนังท่อคาร์บอนนาโนทิวบ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้เป็นสายไฟจิ๋วในเครื่องใช้ไฟฟ้า (nanoelectronics) ใช้ทอเป็นเส้นใยที่มีความละเอียดสูง และทนทานกว่าไทเทเนียม เป็นต้น

ตัวอย่างทางด้าน nanoelectronics เช่น การผลิตเป็น "
ชิพความจำ (memory chip)"ที่ใช้โมเลกุลของสสารเป็นทรานซิสเตอร์ แทนที่จะเป็นซลิกอนทรานซิสเตอร์ ดังที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งการผลิตหุ่นยนต์จิ๋วที่มีขนาดเท่าเม็ดเลือดแดง ซึ่งสามารถเข้าไปรักษาโรค ทำลายไขมัน ที่อุดตันในเส้นเลือด หรือมะเร็งเนื้อร้ายในจุดที่เราต้องการได้ โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัดแต่อย่างไร เป็นต้น ความเจริญทางด้าน nanoelectronecs จะทำให้สิ่งที่เราเห็นในภาพยนต์วิทยาศาสตร์ของฮอลลีวูด เป็นจริงขึ้นมาในเวลาอันใกล้นี้

ส่วนประโยชน์ที่ได้จาก nanobiotechnology ที่เห็นได้ชัดเจนและคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของเราเป็นอย่างมาก คงได้แก่เทคโนโลยีทางการแพทย์และยา เช่น
การทำวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (tissue engineering) เพื่อสร้างอวัยวะ (เนื้อเยื่อหรือกระดูก) ขึ้นมาทดแทน อวัยวะส่วนที่เสื่อมสภาพไป การผลิตยาที่สามารถทำการรักษา -เฉพาะจุด (drug target) เพื่อลดปัญหาการดื้อยา และผลข้างเคียงของยา การผลิต biosensor ที่สามารถวัดปริมาณสารต่างๆ ในเลือด ในปัสสาวะ หรือในสภาพแวดล้อมได้อย่างฉับไว หรือการผลิต "ดีเอ็นเอชิพ" ซึ่งจะใช้ร่วมกับข้อมูลชีวสาร สนเทศ (bioinformatics) เพื่อตรวจหายีนที่ผิดปกติซึ่งอาจ ก่อให้เกิดโรคในอนาคต หรือเพื่อใช้เป็นข้อมูลพันธุกรรมพื้น ฐานส่วนบุคคลในการรักษาพยาบาลยามเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่ง แพทย์จะสามารถสั่งยาที่ตอบสนองต่อร่างกายของผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

นักเคมีบางท่านอาจมองว่า นาโนโทคโนโลยี เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต่างจาก "
การเล่นแร่แปรธาตุ (alchemy)" ใน ยุคอัศวินเสียเท่าไรนัก ที่พยายามเปลี่ยนตะกั่วให้เป็นทอง โดยการใช้สารเคมีและความร้อนมาช่วยในการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุล ในยุคของการเล่นแร่แปรธาตุนั้น นักเคมี (หรืออาจเรียกว่า "พ่อมด-แม่มด" ในสมัยนั้น) ต่างก็ทดลอง กันไปโดยปราศจากความรู้ว่าสสารต่างๆมีการจัดเรียงตัวอย่างไร และธาตุบริสุทธ์มีองค์ประกอบทางเคมีอย่างไร แต่ว่าเมื่อไรก็ตามที่เราสามารถทราบถึงการจัดเรียงตัวของ อะตอมที่ก่อให้เกิดเป็นธาตุต่างๆเป็นอย่างดีแล้ว อีกทั้งยังสามารถทราบถึงการจัดเรียงตัวของอะตอมที่ก่อให้เกิดเป็น ธาตุต่างๆเป็นอย่างดีแล้ว อีกทั้งยังสามารถบังคับควบคุม การจัดเรียงตัวของอะตอมให้เป็นไปตามที่ต้องการอีกด้วย การเปลี่ยนตะกั่วให้เป็นทอง หรือการเปลี่ยนถ่านให้เป็นเพชรก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ศักยภาพของนาโนเทคโนโลยีที่มีต่อแวดวงวิทยาศาสตร์ได้ก่อให้เกิดกระแสการตื่นตัวทางการดำเนินการ วิจัยและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆ ทั่วโลกต่างหัน มาสนใจลงทุนในนาโนเทคโนโลยีกันอย่างมหาศาล เช่น สหรัฐอเมริกา ใช้ทุนวิจัยและพัฒนาทางด้านนาโนเทคโน โลยีถึง 30,000 ล้านบาท/ปี ญี่ปุ่น, สหภาพยุโรปและเกาหลีใต้ ใช้ทุนวิจัยถึง 30,000 , 10,000 และ 9,000 ล้านบาท/ปี ตามลำดับ

ส่วนประเทศไทยนั้นแม้ในปัจจุบันนาโนเทคโนโลยี จะถือเป็นเรื่องใหม่ แต่ก็นับว่ามีพื้นฐานงานวิจัยที่ได้เริ่มอยู่บ้างแล้ว กระจายอยู่ในส่วนของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานวิจัยในประเทศ ซึ่งได้มีการพัฒนาแนวทางอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโ
ลยีอนุภาค (Particle Tecghnology) เป็นต้น