คนเราเกิดมาแต่ละคนเป็นแสนๆ ชาติ ในแต่ละชาติ บางครั้งเราเกิดเป็นคนจน บางครั้งเกิดเป็นเศรษฐี บางครั้งเราอาจจะได้เป้นกษัตริย์ บางครั้งเราอาจจะได้เป็นสัตว์ บางครั้งเราอาจจะลงนรก บางครั้งเราอาจจะขึ้นสวรรค์ เวียนว่ายตายเกิดไปตามบุญ ตามกรรม
การที่เราได้เกิดอยู่ในสามภพนี้ หนึ่งในภพเทวดา ในภพมนุษย์สอง แล้วก็ในภพสัตว์ต่างๆ หรือในนรกนะครับคือภพที่สาม เวียนว่ายตายเกิดในวัฎสงสาร เวียนว่ายตายเกิดกัน
ว่ากันว่า ปริมาณของคน จำนวนของคนมีน้อยมาก ถ้าคิดเป็นพื่นที่ อัตราส่วน เมื่อเทียบกับจำนวนเทวดา จำนวนคนมีเท่ากับปลายเข็มเย็บผ้า ในขณะที่จำนวนของเทวดา มีเท่ากับพื้นที่ของผิวโลกนี้ทั้งใบ คิด ดูนะครับ จำนวนคนแค่ปลายเข็บเย็บผ้าเท่านั้นเอง แต่ที่จำนวนเทวดาเยอะกว่ามากๆ เพราะมีเท่ากับพื้นที่โลกทั้งใบนั้น เทวดานี้มีเยอะๆ มากๆ
เทวดาก็คือสิ่งที่ขึ้นไปเสวยสุขแค่นั้นเอง โอกาสที่จะ ปฎิบัติกรรมสู้มนุษย์ไม่ได้ เพราะมนุษย์เรามีกาย มีเวทนา แต่เทวดาเขาก็ทำได้เหมือนกัน อย่างที่ผมเล่าให้ฟังนะครับ จำนวนเทวดามีเยอะๆ มากกว่าจำนวนคน แต่จำนวนเทวดาเท่ากับปลายเข็มหมุดคือ ปลายเข็บเย็บผ้า จำนวนสัตว์นรก หรือสัตว์เดรัจฉานต่างๆ มีเท่ากับจำนวนพื้นที่ผมโลกเช่นกัน
หลายคนเคยถามผมว่า "อาจารย์ครับ ผมไม่เชื่อเรื่องชาติก่อนชาติหน้า ชาติหลัง จำนวนมนุษย์เพิ่มขึ้นทุกๆปี จะเป็นไปได้อย่างไร"
ผมก็ตอบไปว่า"ก็เทวดาเขาลงมาเกิดไง หรือสัตว์ต่างๆ ขึ้นมาเป็นคนไง" ฉะนั้น การที่จำนวนมนุษย์เพิ่ม ก็ไม่ได้เกี่ยวกับอะไร
เรื่อง ของการเวียนว่ายตายเกิดนี่น่ากลัวมาก ถ้าเราไปเกิดในชาติซึ่งไม่มีใครมาสอนเราเรื่องการหลุดพ้น เรื่องของการดูจิต เรื่องของการเข้านิพพาน ก็เสียชาติเกิดไป
ผมจะอุปมาว่า วัฎสงสาร การเวียนวายต่ายเกิดต่างๆ อุปมาเหมือนทะเลเวิ้งว้างกว้างใหญ่ นิพพานคือเกาะๆ หนึ่งที่เรามองไม่เห็น ทะลนี้มืดมิดมาก เป็นตอนกลางคืน
ถ้าเราทำบุญมาเยอะ เท่ากับเราอยู่บนทุ่น เคยเห็นทุ่นไหมครับ? ที่เด็กเขาใช้ว่ายน้ำกันน่ะ ห่วงยางก็ได้ ทุ่นอันใหญ่แล้วเราก็ลอยตัว ในขณะที่เราได้บุญมาเยอะ ลอยตัว ก็เป็นคนนวย เป็นคนสวย เราไม่รู้ว่า ทิศทางที่จะเข้านิพพานไปทางไหน เรามัวหลง มัววุ่นวายในทางโลก วุ่นวายในทางสร้างสมมติ วุ่นวายในการแก่งแย่งสมมติ ในการชิงดีกัน วุ่นวายกับเรื่องไร้สาระต่างๆ
อายุเราตั้งแต่เกิด จนถึงยี่สิปปี วุ่นวายอยู่กับการเรียนหนังสือ อายุยี่สิบถึงสามสิบ ก็มาวุ่ยวายอยู่กับการทำงาน หาคู่ครอง สามสิบถึงสี่สิบวุ่นวายถึงการเลี้ยงลูก การสร้างฐานะ สี่สิบถึงห้าสิบ วุ่นวายถึงการรักษาฐาน การสะสมทรัพย์ ห้าสิบถึงหกสิบ ก็วุ่นวายถึงเรื่องหลังเกษียณอายุจะทำอะไร พอเกษียณถึงหกสิบ ก็มาวุ่นวายถึงเรื่องที่ไม่ได้ทำมาตั้งแต่เด็ก บางคนก็มาบ้าต้นไม้ บางคนก็บ้ากอล์ฟ ทำโน่นทำนี่ พอเจ็ดสิบ ก็ต้องมาเลี้ยงหลาน หรือป่วยไข้เสียก่อนแล้วก็ตายไปในที่สุด
ชีวิตคนเราผ่านอะไรๆ มาแล้วมาก คำว่าวัยนี้ "วัย" มันน่าจะสะกด คำว่า "ไว" ไวจริงๆ เห็นไหมครับว่าการเวียนว่ายตายเกิดแต่ละครั้ง เราได้เกิดมาเปนคนแล้ว เมื่อไหร่ล่ะเราจะหัดมาดูจิต การที่เราเห็นจิตเกิดอาการ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มาเข้าใจการทำงานของขันธ์ 5 ให้รู้ว่านี่คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เขาทำงานกันอย่างไร โดยที่เห็นจริงๆ ไม่ได้รู้จากการอ่านหนังสือ เรามาเห็นการทำงานของจิต รู้เท่าทันการปรุงแต่งของจิต ก็เริ่มเห็นทางเข้าสู่นิพพานแล้ว
อุปมา เราลอยอยู่ในทะเลวัฎสงสาร แต่เรารู้ทิศทางที่เราจะว่ายไปแล้ว ออกแรงว่ายไปซะ อีกไม่นาน ด้วยบุญอันนี้ ก็จะพาเราไปให้ถึงฝั่งนิพพาน บางคนทำบุญมาเยอะ กินบุญเก่ามาเยอะ บางคนเป็นเศรษฐี อุปมามีห่วงยางใหญ่ลอย แต่ว่ายไปผิดทาง ห่วงยางอันนี้ พอเราตายไปก็ต้องเริ่มทำกันใหม่อีก คราวนี้อาจจะจมอยู่ใต้ทะเลาวัฎสงสารก็ได้ แล้วอาจจะหายไปเลยก็ได้นะครับ ผมก็อยากจะฝากพวกท่านว่า การเกิดเป็นมนุษย์ไม่ใช่เรื่องง่าย
การฝึกธรรมะ อย่าไปแบ่งว่านี่เรื่องธรรมะนี่เรื่องของสมมติ เราไปแบ่งสมมิตกับธรรมะ อุปมาแบ่งเป็นซ้ายเป็นขวา อันนี้ผิด ผมอยากให้เห็นว่า ธรรมะกับเรื่องของทางโลก หรือที่เรียกว่า "สมมติ" อยู่ด้วยกัน
ธรรมะอยู่ในอก หรือที่เราเรียกว่าใจ สมมติมันอยู่ภาพนอก มันไปด้วยกันได้ เราอย่าไปมองว่า ธรรมะกับสมมติ มันอยู่กันคนละข้าง คนละตาชั่ง อยากให้มองกันใหม่ดั่งเรามองฝ่ามือ มันอยู่ด้วยกันนะครับ หลังมือเป็นสมมติ หงายมือออกมาก็เป็นวิมุตติ
หรืออยากจะอธิบายว่า เราทำงานของเรา เราก็ดูจิตไปด้วย อันนี้เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ทำงานไปด้วย ปฏิบัติธรรมไปด้วย วัดนั้นอยู่ที่ใจ ไม่จำเป็นว่าเราต้องวิ่งไปหาวัด แต่ช่วงใหม่ๆ เราก็ต้องไป หาวัดก่อนในเบื้องต้น แต่พอเรียนรู้วิธีที่จะดูจิต ดูใจของเรา เราก็ยกวัด มาไว้ที่ใจ สถานที่ทำงานก็คือสถานที่ปฎิบัติธรรม ดูสิว่า โกรธเจ้านายไหม โกรธลูกน้องไหม โกรธลูกค้าไหม หลงไหม ตามความคิดเข้ามาทันไหม อันนี้เขาเรียกว่า บวชอยู่กับงาน
เมื่อกลับไปถึงบ้าน คู่ครองของเรานั่นแหละ คือครูสอบอารมณ์ ที่ดีที่สุดเลย ยิ่งมีลูกร้องกระจองงอแง ดูจิตไว้ อย่าจิตตก ลูกร้องกรี๊ด !! จิตแม่ก็ตกแล้ว ดูใจก่อน อย่าเพิ่งดูลูก ขณะเดียวกัน ก็ต้องดูลูกด้วย อย่าเอาแต่ดูใจ ของพวกนี้มันไปด้วยกัน ไปคู่กัน ขนานกัน ก็ต้องดูลูกด้วย อย่าเอาแต่ดูใจ ของพวกนี้มันไปด้วยกัน ไปคู่กัน ขนานกัน อุปมาคือ มือที่ยื่นออกไป แยกไม่ออกว่า อันไหนคือหน้ามือ อันไหนคือหลังมือ ฉนั้นการปฏิบัติธรรมอื่นนั้น เพราะว่าโอกาสเกิดเป็นคนน้อยมาก
การเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ไม่แน่นะครับ ว่าเราตายไป เราจะได้เป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่งหรือไม่ เราอาจจะพลาด เราอาจจะเผลอ สติพลาดทำบาปลงไปโดยไม่รู้ตัว เราอาจจะกลายเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรืออาจจะขึ้นไป เป็นเทวดา ซึ่งการฝึกธรรมะนั้นยาก
ฉะนั้นอยากจะเข้านิพพานนะครับ รีบดูจืตไว้ ดูขันธ์ 5 ตามดู ความคิดให้ทัน หมั่นภาวนา และการรักษาศิล คือดูจิตนั่นเอง ทำทาน คือการทำทานที่ตัว ทานคือการให้ ให้สิ่งของที่ดี แต่ต้องมีสติด้วย แต่การทานที่ดี คือทานกิเลสออกจากใจ การให้อภัย การเสียสละ การอดทน อดกลั้น
ศิล 5 ก็เหมาะกับฆราวาส ศิล 227 ข้อก็เหมาะกับพระภิกษุสงฆ์ แต่ศิลที่ดีมากๆ ก็คือ อธิศิล นั่นคือ การรักษาจิตใจให้นิ่ง สงบ ไม่หวั่นไหวประดุจศิลา อันนี้เขาเรียกว่า ถือศิลข้อเดียว คือข้อที่เรียกว่า จิตว่าง ข้อเดียว คือการทำจิตให้ว่าง ยากกว่าถือศิล 5 เป็นไหนๆ แต่ถือว่าเป็นศิลขั้นสูง
ส่วนการภาวนา คือการทำจิตใจให้สงบ ใจจะสงบได้อย่างไร เราก็ต้องรู้ต้นตอสาเหตุว่า อะไรเป็นตัวการที่ทำให้ใจเราไม่สงบ ก็เจ้าขันธ์ 5 นั่นแหละ
หัดฝึกจิต อ่านหนังสืออย่างเดียวไม่สามารถช่วยพวกท่านได้ ต้องลองไปฝึกนะครับ กลัวตรงไหน ไปตรงนั้น ตามดูให้เท่าทัน ให้รู้ ถ้าเป็นไปได้ คบคนที่เขาเคยไปฝึกทางนี้มาแล้ว มีครูบาอาจารย์คอยช่วยเหลือ คอยแนะนำ จะทำให้การฝึกนั้นสนุกสนาน อย่าเอาแต่อ่านอย่างเดียว ฟังอย่างเดียว มันช้า อุปมาเหมือนกับเราไปสอบหนังสือเรียนคนเดียว อ่านหนังสือคนเดียวแล้วไปสอบ โอกาสได้คะแนนสูงมันน้อย สมัยนี้ต้องเรียนเป็นกลุ่ม เรียนแบบผุ้เรียนเป็นสำคัญ ช่วยกันติว ช่วยกันฝึก อ๋อ!! ขันธ์ 5 เขาดูกันอย่างนี้เองหนอ อันนี้เขาเรียกว่า ขันธ์ 5 เอง อ๋อ!! ความคิดจร เรียกกว่าสังขาร อ๋อ!! จิตเกิดเป็นอย่างนี้เอง อ๋อ!! ความคิดเกิดเป็นอย่างนี้เอง ความคิดเข้าไปกระตุ้นให้จิตเกิดนะครับ ดูให้ทัน
ผมจะพูดอีกทีนะครับ หนึ่ง ดูให้ทันความคิดที่มาทำให้จิตเกิดอาการ สอง ความคิดที่ออกมาจากจิต เกิดอาการออกไปแล้ว
อันที่หนึ่ง ความคิดที่ทำให้จิตเราเกิด อันนี้ส่วนใหญ่จะเกิดตอนที่จิตเราว่างๆ ไปสักพักหนึ่ง มีความคิดประหลาดเข้ามา ทำให้เราฟุ้งซ่านมีความแค้น ตรงนี้ดูให้ทัน หรือดูตัวนี้ไม่ทัน ดูง่ายกว่านี้นิดหนึ่ง คือเกิดอาการอกุศล ความคิดบ้าๆ บอๆ จะเยอะ รู้ตัวให้เท่าทัน เช่นรู้ตัวว่าโกรธสามี จังหวะนี้ ยังไม่ต้องเจรจาอะไรใดๆ ทั้งสิ้น รอก่อน รอให้นิ่งก่อน มิฉะนั้นจะเกิดเรื่องใหญ่...
2552/08/17
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น