คืน 21 ต.ค. 2552 นี้ ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เค้าชวนมาดู ปรากฏการณ์ธรรมชาติฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ (Orionid Meteors shower) ที่จะมีขึ้นทุกเดือนตุลาคมของทุกปี ตั้งแต่ 22.00 น. หรือ 4 ทุ่มเป็นต้นไป งานนี้ พี่แนนขอบอกว่าห้ามพลาดค่ะ !!!
4 ทุ่มคืนนี้ รอดู "ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์" กัน!
ซึ่งทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เค้าเชิญชวนให้คนไทยอย่าพลาดชม ปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ " หรือ "ฝนดาวตกนายพราน" ซึ่งเป็นฝนดาวตกประจำเดือนตุลาคม ซึ่งจะเกิดขึ้นในคืนวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 นี้คะ ซึ่งจะมีช่วงเวลาสังเกตตั้งแต่ 22.00 น. หรือสี่ทุ่มจนถึงเช้ามืดของวันใหม่เลยค่ะ
ฝนดาวตกโอไรโอนิด เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในกลุ่มของเศษชิ้นส่วนของดาวหางฮัลเลย์ (Halley) ที่หลงเหลือจากการโคจรเข้ามาในระบบสุริยะเมื่อ 23 ปีที่แล้ว (เกิดกันหรือยังคะ?) ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายนของทุกปี เศษชิ้นส่วนที่ว่านี้เป็นก้อนอุกกาบาตขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้เข้ามาและเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจึงเกิดการลุกไหม้ เราจึงเห็นดาวตกพุ่งออกมาจากบริเวณกลุ่มดาวนายพราน(Orion)
โดยวิธีการดูฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่าค่ะ และเลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงในเมืองให้มากที่สุด โดยมองหากลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออก ซึ่งกลุ่มดาวนี้จะมีดาวสามดวงอยู่ตรงกลางหรือเข็มขัดนายพราน
การสังเกตฝนดาวตกนั้นไม่ควรมองไปที่จุดกระจายของฝนดาวตก แต่ควรมองห่างออกมา โดยเฉพาะในคืนวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอัตราการเกิดดาวตกสูงที่สุด ในปีนี้คาดว่าจะมีประมาณ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งวันที่ 20-22 ตุลาคมนี้เป็นช่วงวันที่เป็นเสี้ยวข้างแรม ปราศจากแสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกต ดังนั้น อย่าพลาดนะคะ ไม่อย่างนั้น ต้องรอไปถึงปีหน้าเชียว
4 ทุ่มคืนนี้ รอดู "ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์" กัน!
ซึ่งทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เค้าเชิญชวนให้คนไทยอย่าพลาดชม ปรากฏการณ์ "ฝนดาวตกโอไรโอนิดส์ " หรือ "ฝนดาวตกนายพราน" ซึ่งเป็นฝนดาวตกประจำเดือนตุลาคม ซึ่งจะเกิดขึ้นในคืนวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 นี้คะ ซึ่งจะมีช่วงเวลาสังเกตตั้งแต่ 22.00 น. หรือสี่ทุ่มจนถึงเช้ามืดของวันใหม่เลยค่ะ
ฝนดาวตกโอไรโอนิด เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในกลุ่มของเศษชิ้นส่วนของดาวหางฮัลเลย์ (Halley) ที่หลงเหลือจากการโคจรเข้ามาในระบบสุริยะเมื่อ 23 ปีที่แล้ว (เกิดกันหรือยังคะ?) ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม ถึง 7 พฤศจิกายนของทุกปี เศษชิ้นส่วนที่ว่านี้เป็นก้อนอุกกาบาตขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดให้เข้ามาและเสียดสีกับชั้นบรรยากาศจึงเกิดการลุกไหม้ เราจึงเห็นดาวตกพุ่งออกมาจากบริเวณกลุ่มดาวนายพราน(Orion)
โดยวิธีการดูฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่าค่ะ และเลือกสถานที่ที่ห่างจากแสงในเมืองให้มากที่สุด โดยมองหากลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันออก ซึ่งกลุ่มดาวนี้จะมีดาวสามดวงอยู่ตรงกลางหรือเข็มขัดนายพราน
การสังเกตฝนดาวตกนั้นไม่ควรมองไปที่จุดกระจายของฝนดาวตก แต่ควรมองห่างออกมา โดยเฉพาะในคืนวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งคาดว่าน่าจะมีอัตราการเกิดดาวตกสูงที่สุด ในปีนี้คาดว่าจะมีประมาณ 10-15 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งวันที่ 20-22 ตุลาคมนี้เป็นช่วงวันที่เป็นเสี้ยวข้างแรม ปราศจากแสงจันทร์รบกวน จึงเหมาะแก่การสังเกต ดังนั้น อย่าพลาดนะคะ ไม่อย่างนั้น ต้องรอไปถึงปีหน้าเชียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น