2552/10/27
การกำเนิดของซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ คือ ส่วนที่เหลือเป็นซาก (รอยพิมพ์) ของพืช หรือสัตว์ ที่มีชีวิตอยู่ในอดีตกาลและสามารถขุดพบได้จากดิน ซากสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่สำคัญมากเนื่องจากเป็นสิ่งที่ใช้บ่งชี้เวลาและช่วยนักธรณีวิทยาในการสร้างความสัมพันธ์ของหินที่มีอายุเดียวกันที่อยู่ในที่ต่างกัน เพียงส่วนเล็กๆของอวัยวะต่างชนิดของสิ่งมีชีวิตที่เกิดในอดีต เท่านั้น ที่กลายมาเป็นซากดึกดำบรรพ์ ขั้นตอนการเกิดซากดึกดำบรรพ์นั้นประกอบด้วย สอง เงื่อนไขที่สำคัญเงื่อนไขแรก ต้องมีการฝังซากทันทีทันใดที่ตาย เมื่ออวัยวะต่างๆตายลง ส่วนที่นิ่มกว่าจะถูกพวกสัตว์กินซากกินไป หรืออาจย่อยสลายไปด้วยแบคทีเรีย ซากที่ถูกฝังทันทีหลังตายเท่านั้นที่สามารถรอดพ้นจากการถูกทำลายซากด้วยสิ่งที่กล่าวมา เงื่อนไขที่สอง การเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์จะเกิดได้ดีกับอวัยวะส่วนที่แข็ง เราพบว่ามีซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ที่มีร่างกายนิ่มด้วยเช่นกัน เช่นซากไส้เดือน แมงกะพรุน เป็นต้น แต่ก็พบจำนวนไม่มากนัก นั่นเป็นเพราะ ส่วนที่เป็นเลือดเนื้อนั้นย่อยสลายง่าย สัตว์ที่ประกอบด้วยส่วนที่แข็ง เช่นเปลือกหอย ฟัน กระดูก จะมีจำนวนมากกว่า ในบันทึกของสิ่งมีชีวิตในอดีต ด้วยเหตุที่ซากดึกดำบรรพ์เกิดได้ด้วยสองเงื่อนไขที่กล่าวมานี้ ทำให้การบันทึกสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ไม่สมบูรณ์ด้วยธรรมชาติของมันเอง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น