1 - Tiger's Nest Monastery, Phutan
ถือเป็นวัดที่มีชื่อเสียงที่สุด ของภูฐาน ตั้งอยู่บนหน้าผาสูง 700 เมตร
จากพื้นล่างในหุบเขาปาโร และด้วยระดับความสูง 3,120 เมตร
จากระดับน้ำทะเล ฉายาว่า “รังเสือ” ของวัดนี้ ได้มาจากตำนานเก่า
ที่เล่าว่า พระรินโปเช (Padmasambhava - Guru Rinpoche)
ซึ่งเป็นผู้เผยแพร่นิกายมหายานในภูฐาน ได้เหาะมาที่นี่บนหลังเสือ
และได้เข้าไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ เป็นเวลาถึง 3 เดือน
หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2227 จึงเริ่มมีการสร้างวัดขึ้น
2 - Wat Rong Khun in Chiang Rai
วัดร่องขุ่น (Wat Rong Khun) ออกแบบและก่อสร้างโดย
อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ซึ่งปรารถนาจะสร้างวัด
ให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540
จากเดิมมีเนื้อที่ 3 ไร่ ได้ซื้อที่ดินเพิ่มและมีผู้บริจาคคือ
คุณวันชัย วิชญชาคร จนปัจจุบันมีเนื้อที่ 9 ไร่
3 - Prambanan : Hindu temple, Indonesia
วัดฮินดูพรัมบานัน : Prambanan Temple
พรัมบานันเป็นวัดฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียหรือจะเรียกว่า
ใหญ่ที่สุดในเอเซียอาคเนย์เลยก็ได้ ตั้งอยู่ที่เมืองพรัมบานัน
ตอนกลางของเกาะชวา และอยู่ไม่ไกลจากยอกยากาตาร์มากนัก
วัดถูกสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 1340 โดยสันนิษฐานว่า
น่าจะสร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์ Rakai Pikatan
จากราชวงศ์ Mataram ที่ 2 หรืออาจะสร้างในสมัยกษัตริย์
Balitung Maha Samba จากราชวงศ์ Sanjaya
ได้รับความเสียหายมากในช่วงปี 2006 เพราะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่นี่
4 - The Shwedagon Paya (or Pagoda), Myanmar
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวดากอง ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ
เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุ
พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น
ตามตำนาน เจดีย์ชเวดากองนั้นสร้างเมื่อง 2,500 ปีที่แล้ว
แต่นักโบราณคดีเชื่อกันว่าสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6-10
สร้างโดยชาวมอญ ตามตำนานนั้นเริ่มจากว่า มีสองพี่น้อง
พ่อค้า 2 คน ได้ไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ามา พระองค์จึง
ประทานพระเกศามา 8 เส้น พระเจดีย์ได้ถูกทิ้งร้าง
จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 รัชสมัยพระเจ้าพินยาอู
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหม่สูง 18 เมตร
พระเจดีย์ได้ถูกซ่อมแซมมาเรื่อยมา จนมามีความสูง 98 เมตรในปัจจุบัน
บนยอดสุดของพระเจดีย์ มีเพชรอยู่ 5,448 เม็ด โดยเฉพาะ
ชั้นข้างบนสุดมีเพชรเม็ดใหญ่อยู่ 72 กะรัต และทับทิม 2,317 เม็ด
5 - Temple of Heaven : a Taoist temple in Beijing
หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง
ซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่
และลานหยวนชิว เป็นต้น เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง
มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง
และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาว
ถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบ
พระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม
6 - Chion-in Temple : Kyoto, Japan
วัดจิออนอิน (Chion-in temple) พื้นที่ของวัดนั้ใหญ่โตอลังการ
แทรกตัวอยู่ในเขาเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่นมาก
วัดนี้สร้างในปี ค.ศ. 1234 เพื่อเป็นเกียรติให้กับผู้ก่อตั้ง
ศาสนาพุทธนิกายโจโด เป็นนักบวช ชื่อว่า Honen
7 - Borobudur, Indonesia
บุโรพุทโธ ( Borobudur ) พุทธสถานอันศักดิ์สิทธิ์
ที่สร้างมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 8-9 โดยกษัตริย์ราชวงศ์ไศเลนทร
ตั้งอยู่บนเนินสูงของเกาะชวาภาคกลาง ห่างจากเมือง
ยอกยากาตาร์ ( Yogyakata ) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ประมาณ 40 กิโลเมตร ถือเป็นโบราณสถาานขนาดใหญ่
และเป็นศูนย์รวมแห่งความภาคภูมิใจของชาวอินโดนิเซีย
และชาวพุทธทุกคน ซึ่งหวังจะไปแสวงบุญสักครั้งในชีวิต
เจดีย์บุโรพุทโธรูปทรงดอกบัวนี้ก่อสร้างตามแบบศิลปะฮินดู-ชวา
หรือศิลปะชวาภาคกลางที่ผสมผสาานระหว่างอินเดียและอินโดนีเซีย
ได้อย่างกลมกลืนที่สุด บุโรพุทโธเปรียบเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
8 - The Harmandir Sahib : the Golden Temple in Punjab
วิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ หรือ วิหารทองคำ เป็นวิหารที่สำคัญที่สุด
ในศาสนาซิก ตั้งอยู่ที่เมืองอัมริตสาร์ เมืองหลวงของ
แคว้นปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย
9 - The Temple of Srirangam
( Sri Ranganathaswamy Temple)
วัดนี้อยู่ในประเทศอินเดีย เมือง Tiruchirapalli
หรือ Trichy เป็นวัดของศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในโลก
10 - Ankor Wat : the largest temple in history
ปราสาทนครวัด (Angkor Wat) เป็นเทวสถานฮินดูลัทธิไวษณพนิกาย
ที่นับถือพระวิษณุเป็นเทพเจ้าสูงสุด สร้างโดยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2
เมื่อช่วงครึ่งแรกคริสต์ศตวรรษที่ 12 เพื่ออุทิศถวาย
แด่องค์พระวิษณุที่พระองค์เชื่อว่า เป็นร่างของพระองค์เอง
ในขณะที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ และหลังจากสิ้นพระชนม์ไปแล้ว
ศาสนสถานแห่งนี้ ก็จะเป็นพระราชสุสานที่พระองค์
จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับองค์พระวิษณุ
2552/11/20
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น