1 ทศวรรษไวอากร้า
ยาเม็ดสีฟ้าที่ชาวโลกรู้จักในชื่อ "ไวอะกร้า" เพิ่งฉลองอายุครบ 10 ปีไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพจ คิลโปเนน เขียนบทความ "ไวอา กร้ากับสิ่งที่ตามมา" ตีพิมพ์ใน "สรรสาระ" ฉบับพ.ย.บอกว่า การค้นพบยาไวอากร้าเมื่อปลายทศวรรษ 1990 ก่อให้เกิดความปั่นป่วนต่ออุตสาหกรรมยาอย่างมากมาย
แม้จะช่วยแก้ปัญ หาเพศสัมพันธ์แก่ผู้ชายหลายล้านคนทั่วโลก แต่ยาไวอา กร้าส่งผลข้างเคียง เช่น สายตาบกพร่อง, เห็นแสงวาบสีฟ้าในดวงตา, หูหนวก, หัว ใจวาย, คัดจมูก, วิงเวียน และเป็นลม ผลข้างเคียงบางอย่างยังไม่ได้รับการยืนยันชัดเจน แต่ผลข้างเคียงเชิงสังคมหลายเรื่องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไวอะกร้า
- มีผู้ชายประมาณร้อยละ 20 ใช้ยาไวอากร้าไม่ได้ผล
- ยาไวอากร้าออกฤทธิ์ขยายหลอดเลือด นักกีฬาจึงใช้ยาชนิดนี้เพื่อหวังผลเพิ่มประสิทธิภาพของร่างกายโดยไม่ผิดกฎหมาย
- แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่า ยาไวอะกร้าทำให้เกิดภาวะหัวใจพิบัติ แต่การใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยากลุ่มไนเตรตเพื่อรักษาอาการปวดเค้นอก (จากโรคหัวใจขาดเลือด) อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
- ยาไม่ได้ทำให้อวัยวะเพศแข็งตัวทันทีหรือต่อเนื่อง ยาหนึ่งเม็ดออกฤทธิ์นานประมาณ 4-6 ชั่วโมง และการแข็งตัวจะเกิดขึ้นหลังได้รับการกระตุ้นเท่านั้น
- กล่าวกันว่า ไวอากร้าเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเช่นกัน
- ฮิวจ์ เฮฟเนอร์ นายแบบแผ่นภาพโฆษณายาไวอากร้า เคยกล่าวถึงยาชนิดนี้ว่า "ยาช่วยปลดปล่อยความต้องการทางเพศของผู้หญิง แต่ผมคิดว่า ช่วยปลดปล่อยผู้ชายเช่นกัน"
- หลังทุ่มเทศึกษาอยู่นาน ในที่สุดบริษัทไฟเซอร์ยกเลิกความพยายามจะพิสูจน์ว่า ไวอากร้าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเพศของผู้หญิง เนื่องจากค้นพบว่าชายและหญิงมีพื้นฐานการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่แตกต่างกัน
- เจ้าหน้าที่สวนสัตว์ในประเทศจีนทดลองใช้ยาไวอากร้ากับแพนด้าเพศผู้เพื่อยืดระยะเวลาการผสมพันธุ์จากเฉลี่ย 30 วินาทีให้กลายเป็น 20 นาที โดยหวังจะเพิ่มโอกาสติดลูก
ทุกวันนี้ บริษัทไฟเซอร์ผู้คิดค้นและผลิต จำหน่ายไวอากร้าแก่ผู้ชายทั่วโลกไปแล้วประมาณ 35 ล้านคน และมียอดจำหน่ายเมื่อปีที่แล้วสูงถึง 2,280 ล้านเหรียญ
2552/12/08
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น