“นากา” คือชื่อชนเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในประเทศอินเดียทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และรวมไปถึงประเทศพม่าด้วย
คำว่า “นากา” หลายๆคนยังถกเถียงกันว่ามีหมายหมายอย่างไร และเป็นคำของภาษาใด แต่ที่แน่ๆแล้ว ภาษาที่ชาวนากาใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นภาษาที่อยู่ในตระกูล Tibeto-Burman languages group ในภาษาพม่า “นากา” หมายถึงพวกที่นิยมเจาะหูเจาะจมูก แต่ในทางกลับกัน ในภาษาฮินดีแล้ว “nanga” หมายถึง “เปลือย”
พวกชนเผ่านากานั้นที่อยู่ในประเทศอินเดียนั้น อาศัยอยู่ รัฐมณีปุระ รัฐอรุณาจัลประเทศ และรัฐอัสสัม และที่อยู่นอกประเทศอินเดียก็อาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนของอินเดีย และประเทศพม่า
ในอดีตชนเผ่านากามีชื่อเสียงมากในเรื่องการล่าหัวมนุษย์ และในปัจจุบันถึงแม้จะล้มเลิกไปแล้วถึงประเพณีดังกล่าว แต่ก็ยังคงหลงเหลือกะโหลกมนุษย์ไว้ให้ดูเป็นจำนวนมาก
ในอดีตแล้วชนเผ่านากานั้นเป็นรัฐที่เป็นอิสระไม่ขึ้นตรงต่อประเทศใด แต่ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศอินเดียได้ส่งกำลังทหารเข้าบุกยึดและทำการผนวกดินแดนของชนเผ่านากาให้ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย
ใน ปัจจุบันชาวอินเดียที่มาจากแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียในแถบดินแดนของ พวกชนเผ่านากา ในแถบ นากาแลนด์ มิโซรัม อรุณาจัล มณีปุระ ชาวอินเดียพวกนี้ จะถูกดูถูกว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง ด้วยเหตุผลที่ว่าหน้าตาไม่เหมือนพวกตน คือ พวกสืบเชื้อสายมาจากพวกชนเผ่าอินโดอารยัน ซึ่งมักทะนงตนว่าตัวเองเป็นผู้ชนะและมีวัฒนธรรมเหนือกว่า
คนไทย เนปาล และทิเบต ก็ถือว่าโดนดูถูกจัดอยู่ในประเภทนี้ด้วยเช่นกัน อันนี้แสดงให้เห็นถึงความคับแคบและการปลูกฝังอย่างผิดๆ และที่ขึ้นชื่ออย่างมากในความคับแคบ ก็คือ คนในรัฐมหาราชฎระ ที่มักดูถูกคนต่างชาติ และต่างรัฐด้วยประหนึ่งว่าตนเองอยู่ในรัฐที่เจริญกว่าที่อื่นๆ ในอินเดีย และบางครั้งเลยเถิดไปว่าตัวเองดีที่สุดในโลก
โดย บางครั้งถึงกับออกปากพูดจาไล่คนต่างชาติเลยทีเดียว แต่เท่าที่พบส่วนมากจะเป็นพวกที่มีวิสัยทัศน์แคบ และไม่จำกัดในเรื่องการศึกษาเสียด้วย เพราะการศึกษากับวิสัยทัศน์ มันคนละเรื่องกัน
จากประสบการณ์จริงของผู้เขียน ชาวอินเดียที่มาจากตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียนี่ล่ะ น่าคบหามากกว่าชาวอินเดียทั่วไป เพราะด้วยเหตุที่วัฒนธรรมค่อนข้างใกล้เคียงกัน และนิสัยใจคอของพวกเขาจะคล้ายๆ คนไทย
นอกเรื่องไปเยอะ เรามาดูภาพชนเผ่านากา ความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมกัน
2553/08/31
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น