2553/04/20

หิ่งห้อย"ทำไมเรืองแสงได้นะ

เวลาไปอัมพวา ใครๆ ก็อยากไปดูหิ่งห้อยที่ส่องแสงกันวิบๆวับๆ อยู่ตามต้นไม้ริมฝั่งน้ำกันยามค่ำคืน ดูสวยจับใจเสียจริงๆ แล้วทำไมเจ้าแมลงตัวน้อยนี้จึงเรืองแสงได้นะ??

หิ่งห้อย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Firefly, Lightning bug, หรือ Glowworm เป็นแมลงปีกแข็งที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับพวกแมลงเต่าทอง หรือ Family Lampyridae มีหลายชนิด หิ่งห้อยมีปีกแค่ 2 ปีกตามที่มองเห็น

บริเวณที่พบเห็น จากรายงานการศึกษาหิ่งห้อยในประเทศไทยที่เคยลงพิมพ์ในนิตยสารคดี พบว่าหิ่งห้อยในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 ชนิด แต่ละชนิดมีแหล่งที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน แต่ที่สำคัญคือ ต้องอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ตามชายน้ำ ริมลำธาร บางชนิดอาศัยอยู่ตามซากไม้ใบไม้ที่เน่าเปื่อยผุพัง ทั้งนี้ ที่ต้องอาศัยใกล้บริเวณที่มีต้นไม้น้ำที่หอยสามารถขึ้นมาวางไข่ได้

"หิ่งห้อยเรืองแสงได้อย่างไร?" เจ้าแมลงตัวน้อยสร้างแสงวับๆ ในยามค่ำคืนได้ โดยอาศัยปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์พิเศษที่อยู่บริเวณส่วนท้ายของลำตัว เป็นการเกิดปฏิกิริยาระหว่างโปรตีน Luciferin และเอนไซม์ Luciferase โดยอาศัยพลังงานจาก ATP (Adenosine triphosphate) ภายในเซลล์ และออกซิเจน ซึ่งจากปฏิกิริยาเคมี การเกิดแสงของหิ่งห้อยเกิดจากการทำปฏิกิริยากันของ luciferin กับออกซิเจนและเกิดเป็น oxyluciferin ส่วนที่เห็นแสงวับๆ เกิดขึ้น เพื่อสืบพันธุ์ และหลอกล่อเหยื่อนั่นเอง แต่หิ่งห้อยแต่ละชนิดรูปแบบและระยะเวลาของการสร้างแสงวับๆ จะแตกต่างกัน

เรื่องการเรืองแสงพบว่าหิ่งห้อยทั้งตัวผู้ ตัวเมีย และตัวอ่อน สามารถเรืองแสงได้เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น